"กงลี่" ราชินีของวงการภาพยนตร์จีน "ผู้หญิงที่ได้รับการยอมรับว่างดงามแบบตะวันออก"
กงลี่ (จีนตัวเต็ม: 鞏俐; จีนตัวย่อ: 巩俐; พินอิน: Gǒng Lì) นักแสดงหญิงชาวจีน และได้รับการยกย่องว่าเป็นราชินีของวงการภาพยนตร์จีน และเคยเป็นพรีเซ็นเตอร์ของเครื่องสำอางลอรีอัลในเอเชียและเคยได้รับการยกย่องจาก"นิตยสารพีเพิล"ให้เป็นบุคคลที่งดงามที่สุดมาแล้ว
ผลงาน
Red Sorghum (พ.ศ. 2530)
A Terracotta Warrior (พ.ศ. 2532)
The Empress Dowager (พ.ศ. 2532)
Mr. Sunshine (พ.ศ. 2532)
Codename Cougar (พ.ศ. 2532)
Ju Dou (พ.ศ. 2533)
God of Gamblers III: Back to Shanghai (พ.ศ. 2534)
Raise the Red Lantern (พ.ศ. 2534)
Mary from Beijing (พ.ศ. 2535)
The Story of Qiu Ju (พ.ศ. 2535)
Flirting Scholar (พ.ศ. 2536)
Farewell My Concubine (พ.ศ. 2536)
8 Guardians of Buddhism (พ.ศ. 2537)
To Live (พ.ศ. 2537)
The Great Conqueror's Concubine (พ.ศ. 2537)
Shanghai Triad (พ.ศ. 2538)
A Soul Haunted by Painting (พ.ศ. 2538)
Temptress Moon (พ.ศ. 2539)
Chinese Box (พ.ศ. 2540)
The Emperor and the Assassin (พ.ศ. 2542)
Breaking the Silence (พ.ศ. 2543)
Zhou Yu's Train (พ.ศ. 2545)
2046 (พ.ศ. 2547)
Eros (พ.ศ. 2547)
Memoirs of a Geisha (พ.ศ. 2549)
Miami Vice (พ.ศ. 2549)
Curse of the Golden Flower ศึกโค่นบัลลังก์วังทอง (พ.ศ. 2550)
Hannibal Rising (พ.ศ. 2550)
Shanghai (2553)
What women want (2554)
แหล่งข้อมูลอื่น
กงลี่ ดาราจีนที่ได้รับการยกย่องว่าสวยที่สุดในโลกคนหนึ่ง คอลัมน์รู้ไปโม้ด มติชน
กงลี่ ฮองเฮาผู้เลอโฉม เดลินิวส์
Gong Li Site
กงลี่(巩俐)
กงลี่เป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เริ่มเป็นที่รู้จักจากหนัง
เรื่องred sorghumซึ่งเป็นหนังเรื่องของเธอ
จากการกำกับเรื่องแรกของจางอี้โหมว
ตอนที่เล่นหนังเรื่องแรกกงลี่ยังเป็นนักเรียนการแสดงที่ปักกิ่ง
หนังเรื่องแรกของเป็นการเปิดเส้นทางการเป็นดาราชื่อดังให้เธอ
หลังจากred sorghumได้รับคำวิจารณ์แง่บวก
กงลี่ก็เริ่งผูกขาดการเป็นนางเอกของหนังจางอี้โมว
หนังของดังของเธอกัยจางอี้โหมวที่ได้รับการจดจำเช่น
Ju-Dou, raise of the red lantern
ทั้งคู่ได้ทำหนังร่วมกัน จนตอนหลังแต่งงานกัน
และทำหนังด้วยกันอีกหลายเรื่อง
จนถึงปี1995เป็นหนังเรื่องสุดท้าย(ในตอนนั้น)
ที่ทั้งคู่ทำงานร่วมเพราะปี95ทั้งคู่หย่าขาดกันน่ะคะ
แต่เรื่องcurse of golden flowerเป็นเรื่องที่ทั้งคุ่
กลับมาร่วมงานกันอีกครั้งในรอบ10ปีน่ะค่ะ
ถึงหนังของกงลี่ที่เล่นภายหลังจะไร้เงาของจางอี้โมว
แต่ผลงานหนังของกงลี่ล้วนเป็นหนังคุณภาพน่ะค่ะ
อย่างเช่น farewell concubineและtemptess moon ของเฉินข่ายเกอ,
2046ของหว่องคาร์ไว, zhouyu 's train น่ะค่ะ
ชื่อเสียงของกงลี่ไม่ได้มีอยู่แค่ในเอเชียเท่านั้น
กงลี่หันไปรับหนังฮอลลีวู้ด
ประเดิมด้วยmemoirs of geisha ถึงบทจะไม่ใช่นางเอก
แต่ฝีมือการแสดงของเธอเล่นเอาข่มดาราคนอื่นไปโขน่ะค่ะ
หนังในฮอลลีวู้ดของเธอยังมีMiami vice, hannibal rising
หนังฮอลลีวู้ดเรื่องของเธอกำลังถ่ายอยู่ชื่อเรื่องShanghai
หนังเรื่องถ่ายทำในไทยที่จ.ฉะเชิงเทราของเรานี้เองน่ะค่ะ
โดยเนรมิตฉากในการถ่ายทำออกมาเป็นเซี่ยงไฮ้สมัยสงครามโลกครั้งที่2
กงลี่เป็นนักแสดงที่แสดงสื่อออกมาท่าสายตาได้เก่งมาก
เราได้ดูcurse of golden flower กงลี่สื่อสารทางสายตาได้เก่งจริงๆ
กงลี่มีชืิ่อเสียงโด่งดังถึงเป็นปัจจุบันนี้หน้าตา
เป็นเพียงเเค่ส่วนประกอบหนึ่งแต่การป็นนักแสดงคุณภาพ
ที่ทำให้กงลี่มีชื่อเสียงยาวนานถึงทุกวันนี้
เมื่อเดือนที่แล้งกงลี่ตกเป็นที่วิจารณ์ของคนจีน
เพราะเธอได้เปลี่ยนสัญชาติจีนเป็นสิงคโปร์ตามสามีปัจจุบันของเธอ
ทำเอาคนจีนออกมาต่อว่าทำนองว่าเธอไม่รักชาติน่ะค่ะ
ประวัติบุคคลต่างๆในวงการภาพยนต์จีน
วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556
ตลาดผู้ชมภาพยนตร์จีนขึ้นแท่นอันดับ 2 ของโลก
ตลาดผู้ชมภาพยนตร์จีนขึ้นแท่นอันดับ 2 ของโลก
จากการรวบรวมสถิติเกี่ยวกับวงการภาพยนตร์ของจีนในปี 2555 ที่ผ่านมา พบว่า ยอดการจำหน่ายตั๋วชมภาพยนตร์ของจีนมีมูลค่าสูงถึง 17,073 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 30.18 ขึ้นแท่นตลาดผู้ชมภาพยนตร์อันดับ 2 ของโลก และเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดในปี 2545 หรือ 10 ปีก่อนที่มีมูลค่าตลาดเพียง 920 ล้านหยวน ตลาดผู้ชมภาพยนตร์ของจีนเติบโตกว่า 18.5 เท่าตัว
ในปี 2555 ยอดการจำหน่ายตั๋วชมภาพยนตร์ของจีนมูลค่า 17,073 ล้านหยวน แบ่งเป็นภาพยนตร์ของจีนเอง 8,273 ล้านหยวน คิดเป็นร้อยละ 48.46 ขณะที่ภาพยนตร์จากต่างประเทศมียอดการจำหน่ายตั๋วอยู่ที่ 8,800 ล้านหยวน โดยถือเป็นปีแรกที่ยอดการจำหน่ายตั๋วของภาพยนตร์จากต่างประเทศสูงกว่าภาพยนตร์ในประเทศ ทั้งนี้ เป็นเพราะในปี 2555 จีนมีการเพิ่มโควตาการนำเข้าภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกาอีก 14 เรื่อง สำหรับภาพยนตร์ของจีนเองในปีที่ผ่านมามีการผลิตหนังรวมทั้งสิ้นกว่า 893 เรื่อง แบ่งเป็นภาพยนตร์ทั่วไป 745 เรื่อง ภาพยนตร์การ์ตูน 33 เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี 15 เรื่อง ภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ 74 เรื่อง และภาพยนตร์ที่ใช้เทคนิคพิเศษ 26 เรื่อง
นอกจากนี้ จำนวนจอฉายภาพยนตร์ของโรงภาพยนตร์ในจีนก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก โดยตลอดทั้งปี มีการสร้างจอฉายภาพยนตร์เพิ่ม 3,832 จอ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นวันละ 10.5 จอ ถึงสิ้นปี จีนมีจอฉายภาพยนตร์ทั้งสิ้น 13,118 จอ เทียบกับเมื่อ 10 ปีก่อน เพิ่มขึ้น 7.1 เท่า ในจำนวนนี้ เครือข่ายโรงหนังที่มีมูลค่าการจำหน่ายตั๋วสูงสุด ได้แก่ เครือข่ายของบริษัท Wanda มีมูลค่าการจำหน่ายตั๋วทั้งสิ้น 2,400 ล้านหยวน รองลงมาได้แก่ บริษัท Shanghai Lianhe และ บริษัท Zhongying Xingmei โดยต่างมีมูลค่าการจำหน่ายตั๋วมากกว่า 1,600 ล้านหยวน
อย่างไรก็ดี แม้ตลาดการจำหน่ายตั๋วชมภาพยนตร์ของจีนจะมีมูลค่าสูงขึ้นมาก แต่ภาพยนตร์ที่ผลิตโดยจีนเองกลับไม่มียอดจำหน่ายในต่างประเทศสูงเท่าที่ควร โดยปีที่ผ่านมา มูลค่าการจำหน่ายตั๋วชมภาพยนตร์ของจีนในต่างประเทศอยู่ที่ 1,063 ล้านหยวน และแม้แต่ตลาดภายในจีนเอง หากมองจากภาพรวม ภาพยนตร์จากต่างประเทศก็ได้รับการตอบรับที่ดีกว่าภาพยนตร์ที่ผลิตโดยจีนเอง
สำหรับอันดับภาพยนตร์ทั้งจากในและต่างประเทศที่มียอดการจำหน่ายตั๋วมากที่สุด 5 อันดับแรกในจีนประจำปี 2555 มีดังต่อไปนี้
5 อันดับภาพยนตร์จีนที่มียอดการจำหน่ายตั๋วมากที่สุด 5 อันดับแรกในจีนปี 2555
อันดับ
ชื่อภาพยนตร์
ยอดการจำหน่ายตั๋ว
(หน่วย: ร้อยล้านหยวน)
1
Lost In Thailand 《人再囧途之泰囧》
9.89
2
Painted Skin: The Resurrection 《画皮2》
7.02
3
CZ12 《十二生肖》
5.24
4
Untitled Remembering 1942 Project 《一九四二》
3.7
5
Cold War 《寒战》
2.55
5 อันดับภาพยนตร์ต่างประเทศที่มียอดการจำหน่ายตั๋วมากที่สุด 5 อันดับแรกในจีนปี 2555
อันดับ
ชื่อภาพยนตร์
ยอดการจำหน่ายตั๋ว
(หน่วย: ร้อยล้านหยวน)
1
3D Titanic《3D版泰坦尼克号》
9.39
2
Mission Impossible: Ghost Protocol《碟中谍4》
6.79
3
Life of Pi《少年派的奇幻漂流》
5.71
4
The Avengers《复仇者联盟》
5.65
5
Men in Black III《黑衣人3》
5
อุตสาหกรรมบันเทิงของจีนที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ สะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจที่รายได้ต่อหัวของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ทั้งนี้ นอกเหนือจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ธุรกิจสาขาบริการอื่นๆ อาทิ การท่องเที่ยว ร้านอาหาร สปา ในระดับ High End รวมถึงสินค้าแบรนด์เนมทั้งหลาย ล้วนได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นมากจากชาวจีนที่มีฐานะ ประกอบกับการเปิดกว้างทางสังคมที่มากขึ้นเรื่อยๆ กระแสวัฒนธรรมตะวันตกและต่างประเทศหลั่งไหลเข้าสู่จีนมากขึ้นและมีทีท่าว่าจะเติบโตอีกมาก จึงนับว่าเป็นธุรกิจอีกสาขาหนึ่งที่มีอนาคตของจีน
จากการรวบรวมสถิติเกี่ยวกับวงการภาพยนตร์ของจีนในปี 2555 ที่ผ่านมา พบว่า ยอดการจำหน่ายตั๋วชมภาพยนตร์ของจีนมีมูลค่าสูงถึง 17,073 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 30.18 ขึ้นแท่นตลาดผู้ชมภาพยนตร์อันดับ 2 ของโลก และเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดในปี 2545 หรือ 10 ปีก่อนที่มีมูลค่าตลาดเพียง 920 ล้านหยวน ตลาดผู้ชมภาพยนตร์ของจีนเติบโตกว่า 18.5 เท่าตัว
ในปี 2555 ยอดการจำหน่ายตั๋วชมภาพยนตร์ของจีนมูลค่า 17,073 ล้านหยวน แบ่งเป็นภาพยนตร์ของจีนเอง 8,273 ล้านหยวน คิดเป็นร้อยละ 48.46 ขณะที่ภาพยนตร์จากต่างประเทศมียอดการจำหน่ายตั๋วอยู่ที่ 8,800 ล้านหยวน โดยถือเป็นปีแรกที่ยอดการจำหน่ายตั๋วของภาพยนตร์จากต่างประเทศสูงกว่าภาพยนตร์ในประเทศ ทั้งนี้ เป็นเพราะในปี 2555 จีนมีการเพิ่มโควตาการนำเข้าภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกาอีก 14 เรื่อง สำหรับภาพยนตร์ของจีนเองในปีที่ผ่านมามีการผลิตหนังรวมทั้งสิ้นกว่า 893 เรื่อง แบ่งเป็นภาพยนตร์ทั่วไป 745 เรื่อง ภาพยนตร์การ์ตูน 33 เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี 15 เรื่อง ภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ 74 เรื่อง และภาพยนตร์ที่ใช้เทคนิคพิเศษ 26 เรื่อง
นอกจากนี้ จำนวนจอฉายภาพยนตร์ของโรงภาพยนตร์ในจีนก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก โดยตลอดทั้งปี มีการสร้างจอฉายภาพยนตร์เพิ่ม 3,832 จอ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นวันละ 10.5 จอ ถึงสิ้นปี จีนมีจอฉายภาพยนตร์ทั้งสิ้น 13,118 จอ เทียบกับเมื่อ 10 ปีก่อน เพิ่มขึ้น 7.1 เท่า ในจำนวนนี้ เครือข่ายโรงหนังที่มีมูลค่าการจำหน่ายตั๋วสูงสุด ได้แก่ เครือข่ายของบริษัท Wanda มีมูลค่าการจำหน่ายตั๋วทั้งสิ้น 2,400 ล้านหยวน รองลงมาได้แก่ บริษัท Shanghai Lianhe และ บริษัท Zhongying Xingmei โดยต่างมีมูลค่าการจำหน่ายตั๋วมากกว่า 1,600 ล้านหยวน
อย่างไรก็ดี แม้ตลาดการจำหน่ายตั๋วชมภาพยนตร์ของจีนจะมีมูลค่าสูงขึ้นมาก แต่ภาพยนตร์ที่ผลิตโดยจีนเองกลับไม่มียอดจำหน่ายในต่างประเทศสูงเท่าที่ควร โดยปีที่ผ่านมา มูลค่าการจำหน่ายตั๋วชมภาพยนตร์ของจีนในต่างประเทศอยู่ที่ 1,063 ล้านหยวน และแม้แต่ตลาดภายในจีนเอง หากมองจากภาพรวม ภาพยนตร์จากต่างประเทศก็ได้รับการตอบรับที่ดีกว่าภาพยนตร์ที่ผลิตโดยจีนเอง
สำหรับอันดับภาพยนตร์ทั้งจากในและต่างประเทศที่มียอดการจำหน่ายตั๋วมากที่สุด 5 อันดับแรกในจีนประจำปี 2555 มีดังต่อไปนี้
5 อันดับภาพยนตร์จีนที่มียอดการจำหน่ายตั๋วมากที่สุด 5 อันดับแรกในจีนปี 2555
อันดับ
ชื่อภาพยนตร์
ยอดการจำหน่ายตั๋ว
(หน่วย: ร้อยล้านหยวน)
1
Lost In Thailand 《人再囧途之泰囧》
9.89
2
Painted Skin: The Resurrection 《画皮2》
7.02
3
CZ12 《十二生肖》
5.24
4
Untitled Remembering 1942 Project 《一九四二》
3.7
5
Cold War 《寒战》
2.55
5 อันดับภาพยนตร์ต่างประเทศที่มียอดการจำหน่ายตั๋วมากที่สุด 5 อันดับแรกในจีนปี 2555
อันดับ
ชื่อภาพยนตร์
ยอดการจำหน่ายตั๋ว
(หน่วย: ร้อยล้านหยวน)
1
3D Titanic《3D版泰坦尼克号》
9.39
2
Mission Impossible: Ghost Protocol《碟中谍4》
6.79
3
Life of Pi《少年派的奇幻漂流》
5.71
4
The Avengers《复仇者联盟》
5.65
5
Men in Black III《黑衣人3》
5
อุตสาหกรรมบันเทิงของจีนที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ สะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจที่รายได้ต่อหัวของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ทั้งนี้ นอกเหนือจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ธุรกิจสาขาบริการอื่นๆ อาทิ การท่องเที่ยว ร้านอาหาร สปา ในระดับ High End รวมถึงสินค้าแบรนด์เนมทั้งหลาย ล้วนได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นมากจากชาวจีนที่มีฐานะ ประกอบกับการเปิดกว้างทางสังคมที่มากขึ้นเรื่อยๆ กระแสวัฒนธรรมตะวันตกและต่างประเทศหลั่งไหลเข้าสู่จีนมากขึ้นและมีทีท่าว่าจะเติบโตอีกมาก จึงนับว่าเป็นธุรกิจอีกสาขาหนึ่งที่มีอนาคตของจีน
กระแสภาพยนตร์ขนาดเล็ก (Micro Movies) สู้กองเซ็นเซอร์ในจีน
กระแสภาพยนตร์ขนาดเล็ก (Micro Movies) สู้กองเซ็นเซอร์ในจีน
ขณะที่ภาพยนตร์กระแสหลักฉายโรงใหญ่ต้องผ่านกองเซ็นเซอร์จากรัฐบาลจีนและถูกควบคุมทางสุนทรียะ ชาวจีนเริ่มนิยมเผยแพร่ภาพยนตร์สั้นผ่านเว็บไซต์และมีกลุ่มผู้ชมจำนวนมากจากการเติบโตของสมาร์ทโฟน และวิถีชีวิตในเมืองที่ทำให้คนหันมาฆ่าเวลาด้วยการชมภาพยนตร์ผ่านเว็บ
เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2013 สำนักข่าว BBC กล่าวถึงช่องทางการนำเสนอภาพยนตร์รูปแบบใหม่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยผู้กำกับรุ่นใหม่ได้หันมาใช้วิธีการสร้างภาพยนตร์ขนาดเล็กแบบที่เรียกว่า 'Micro Movies' และนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ให้กับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อหลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลจีน
BBC ได้กล่าวถึงภาพยนตร์ที่ชื่อ "My Way" ซึ่งกล่าวถึงประเด็นคนข้ามเพศในฮ่องกงที่ต้องเผชิญกับความวิตกกังวลด้านต่างๆ ในชีวิต ตั้งแต่การผ่าตัดแปลงเพศ การเผชิญหน้ากับอดีตคนรัก และการดำรงชีวิตอยู่ในประเทศที่คนยังไม่เข้าใจบุคคลข้ามเพศมากนัก ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเผยแพร่ในเทศกาลภาพยนตร์ของฮ่องกงในปี 2012 ที่ผ่านมา
BBC ระบุว่า ฮ่องกงซึ่งปัจจุบันเป็นเขตพื้นที่ปกครองพิเศษของจีนมีเสรีภาพสื่อและการแสดงออกทางศิลปะมากกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้นโยบาย "หนึ่งประเทศ สองระบบ" แต่อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้น้อยที่ภาพยนตร์ขนาดสั้น 20 นาที เรื่อง My Way จะได้ฉายบนจอใหญ่ในจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทางการจีนยังคงไม่อนุญาตให้นำเสนอประเด็นเรื่องบุคคลข้ามเพศหรือ LGBT มากนัก และเทศกาลภาพยนตร์อิสระก็มักจะถูกสั่งปิด
ภาพยนตร์เรื่อง "My Way" จึงไปเผยแพร่ผ่าน Youku ซึ่งเป็นเว็บไซต์อัพโหลดวิดีโอแบบยูทูบของจีน ไม่นานนักก็มีคนเข้าไปชมมากกว่า 4 ล้านครั้ง มีการถกเถียงกันอย่างดุเดือดในพื้นที่แสดงความคิดเห็น
แอน ฮุย ผู้กำกับเรื่อง "My Way" กล่าวว่า เป็นเรื่องที่หาคนให้ทุนได้ยากในตลาดภาพยนตร์กระแสหลัก และทำให้เขาไม่ต้องกังวลกับการพยายามทำให้ภาพยนตร์เน้นขายได้และนำเสนอประเด็นได้อย่างเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของจีนเติบโตมากถึงราวร้อยละ 36.2 ต่อปี โดยรายได้ผู้ซื้อตั๋วเข้าชมภาพยนตร์เมื่อช่วงครึ่งปีแรกของปี 2013 อยู่ที่ 1,790 ล้านดอลลาร์ (ราว 5 หมื่นล้านบาท) แต่ขณะเดียวกันก็เริ่มมีการสร้างสิ่งที่เรียกว่าภาพยนตร์ขนาดเล็กหรือที่ชาวจีนเรียกว่า "Micro Movies" เพิ่มขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ขนาดสั้นที่เน้นช่องทางรับชมผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นช่องทางที่ไม่ต้องผ่านการเซ็นเซอร์ของรัฐและการครอบงำของสตูดิโอ
โลกออนไลน์ของจีนจึงเป็นพื้นที่ของสื่อที่เป็นข้อถกเถียง และการแสดงออกอย่างกล้าหาญในทางศิลปะ ขณะที่สำหรับผู้ชม ภาพยนตร์ขนาดเล็กเหล่านี้ถือเป็นการผ่อนคลายจากโฆษณาชวนเชื่อของสื่อพรรคคอมมิวนิสต์ที่แฝงมาในรูปแบบของความบันเทิง โดยเมื่อปีที่แล้วรัฐบาลจีนก็ได้สั่งให้ถอดผังรายการโทรทัศน์ที่ถูกกล่าวหาว่า "หยาบคาย" และ "ผิดศีลธรรม" โดยมีการนำรายการ "สร้างเสริมศีลธรรม" มาใส่ผังแทน
วิถีชีวิตการชมสื่อบันเทิงแบบพกพา
นอกจากนี้ปัจจัยที่ทำให้มีคนหันมาชมสื่อจากโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้นเนื่องจากประเทศจีนมีการจราจรที่คับคั่งและการเดินทางด้วยรถประจำทางที่ใช้เวลานานผู้คนจึงใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพื่อฆ่าเวลา
"การจราจรแย่มาก ผู้คนต้องต่อคิวทุกที่ ต้องรออะไรสักอย่าง การชมภาพยนตร์เล็กๆ ทำให้พวกเขาหนีจากวิถีชีวิตอันวุ่นวายได้ชั่วคราว" แอนนา ชี ผู้กำกับภาพยนตร์กล่าว
BBC เปิดเผยว่าในปี 2011 มีการสร้างภาพยนตร์ขนาดเล็กในจีนมากกว่า 2,000 เรื่อง ขณะที่ภาพยนตร์กระแสหลักฟอร์มยักษ์มีเพียง 500 เรื่อง
ศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลจีนระบุว่า ในปี 2012 มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตภายในประเทศ 591 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 20 จากการที่ประชาชนจีนสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านทางเครื่องมือแบบพกพาได้ และในจำนวนนั้นมีผู้ดูวิดีโอออนไลน์จำนวน 452 ล้านคนในเดือน ม.ค. 2013
บริษัทการตลาดทางอินเทอร์เน็ตของจีนที่ชื่อ iResearch กล่าวว่าที่ภาพยนตร์ขนาดเล็กเป็นที่นิยมเนื่องจากมันสามารถแชร์และส่งต่อได้ง่ายๆ เช่นเดียวกับเรื่อง My Way ที่มีการส่งต่อกันจนกลายเป็นการแพร่กระจายในวงกว้างระดับไวรัล
BBC ระบุว่าภาพยนตร์ Micro movie เรื่องแรกของชื่อเรื่อง "Old Boys" ซึ่งออกเผยแพร่เมื่อปี 2010 มีความยาว 43 นาที ซึ่งมีจำนวนการเข้าชมแล้ว 60 ล้านครั้ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มเพื่อนมัธยมฯ ที่มีความฝันในทางดนตรี แต่พอโตขึ้นก็ต้องเผชิญโลกความจริงโดยการทำงานธรรมดาๆ ทั่วไป เช่น คนจัดงานแต่งงานหรือช่างตัดผม จนกระทั่งหลายปีต่อมาพวกเขาก็สามารถปลุกเร้าความฝันให้กลับมาได้อีกครั้งจากการเข้าประกวดร้องเพลง
เรื่อง Old Boys อาจจะเล่าถึงความฝัน แรงบันดาล และความผิดหวัง ของคนยุคทศวรรษ 1980 และ 1990 แต่ภาพยนตร์ขนาดเล็กของจีนจำนวนมากมีเป้าหมายเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่เด็กกว่านั้น โดยพูดถึงเรื่องความรัก ความสัมพันธ์ การเรียนจบและหางานทำ และส่วนใหญ่มีฉากอยู่ในเมืองมากกว่าในชนบท เนื่องจากชาวจีนส่วนใหญ่ที่เข้าสู่โลกออนไลน์อาศัยอยู่ในเมือง
โดยนอกจากภาพยนตร์แล้ว ในจีนยังมีผู้สร้าง Micro web serials หรือละครซีรีส์ขนาดเล็กบนเว็บ เช่น ละครซิทคอมเรื่อง "Hip-Hop Office Quartet" เป็นเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มเพื่อนที่ทำงานในออฟฟิศ มีผู้เข้าชมใน Youku มากกว่า 200 ล้านครั้ง และเพิ่งฉายฤดูกาลที่ 5 ไปเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา โดย เจียน เชา ตัวแทนจากเว็บ Youku แสดงความเห็นถึงเรื่องนี้ว่ามันเป็นเรื่องที่สื่อว่าหนุ่มสาวสมัยนี้มีความเป็นอยู่อย่างไรและมีการใช้ภาษาอย่างไร มันเป็นสิ่งที่คุณไม่สามารถเห็นได้จากช่อง CCTV ของรัฐบาลจีน
โอกาส กับการแสดงพลังศิลป์
ชาวจีนหนุ่มสาวในยุคนี้มีโอกาสในการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ขนาดเล็กมากขึ้น จากการที่ใครก็ตามที่มีกล้องวิดีโอก็สามารถถ่ายทำภาพยนตร์และนำเสนอผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ ช่องแสดงความเห็นในเว็บก็ทำให้ผู้กำกับได้รับการตอบรับโดยทันที และสตูดิโอภาพยนตร์ก็มองเห็นผลงานของพวกเขา ขณะเดียวกัน คนในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็เริ่มมีการจัดเทศกาลให้กับภาพยนตร์ประเภทนี้ แม้แต่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอย่าง Tencent และ Youku ก็สร้างภาพยนตร์ของตัวเอง
"ก่อนหน้านี้ทุกคนต้องทำงานอยู่ในเงามืดก่อนที่จะมีสตูดิโอมองเห็นผลงานของคุณ และให้เงินทุนคุณ แต่ในตอนนี้คุณแค่อัพโหลดงานของคุณ คุณก็อาจจะได้รับข้อเสนอดีๆ ได้" เจียน เชา กล่าว
แต่ ลู เยือ นักสร้างภาพยนตร์ในวงการผู้เคยทำงานร่วมกับผู้กำกับจาง อี้โหมว กลับคิดว่าภาพยนตร์ขนาดเล็กเป็นเรื่องของการพยายามสร้างสรรค์งานศิลปะมากกว่าเป็นการพยายามสร้างฐานผลงาน ลู เองก็มีผลงานภาพยนตร์ขนาดสั้นชื่อ 1 Dimension หรือ หนึ่งมิติ ร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์ Beautiful ปี 2013
ผลงานของลู เป็นภาพยนตร์ขาว-ดำ เล่าเรื่องผ่านโครงร่างเงาของตัวละคร ลูบอกว่าเขาต้องการสร้างภาพยนตร์ที่เป็นไปในทางตรงข้ามกับกระแสภาพยนตร์สามมิติซึ่งเป็นที่นิยมในจีน ทำเงินอย่างมหาศาล แต่ก็ทำให้ความงดงามของภาพยนตร์ลดลง
นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่าเมื่อภาพยนตร์ขนาดเล็กได้รับความนิยมในกระแสหลักมากขึ้น พวกมันก็เริ่มสูญเสียคุณค่าในตัวเอง มีบริษัทใหญ่ๆ เข้ามาให้ทุนกับภาพยนตร์ขนาดเล็กเพื่อการวางสินค้าประชาสัมพันธ์ (Product placements)
ขณะที่การเซ็นเซอร์ก็เริ่มคืบคลานเข้ามาสู่วงการภาพยนตร์ขนาดเล็กอย่างรวดเร็ว เมื่อปีที่ผ่านมาสำนักงานสื่อวิทยุ โทรทัศน์และภาพยนตร์ของรัฐบาลจีน ซึ่งทำหน้าที่เป็นกองเซ็นเซอร์ได้ประกาศมาตรการใหม่สำหรับภาพยนตร์ขนาดเล็กและวิดีโออื่นๆ โดยให้เว็บไซต์วิดีโอเซ็นเซอร์เนื้อหาที่มี "การชักจูงไปในทางที่ผิด"
แต่การพยายามต่อสู้เพื่อควบคุมอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลจีนก็ไม่ได้ง่ายนัก เพราะมีภาพยนตร์จำนวนมากถูกโพสต์ในโลกออนไลน์ และดูเหมือนจะยังไม่ซาลง จนผู้ใช้เว็บล็อก Sina Weibo ซึ่งเปรียบเสมือนทวิตเตอร์ของจีนกล่าวไว้ว่า ถ้าหากกองเซ็นเซอร์ของจีนยังคงพยายามไล่ควบคุมภาพยนตร์ขนาดเล็กอยู่ พวกเขาคงไม่กลัวเหนื่อยตายไปก่อน
ขณะที่ภาพยนตร์กระแสหลักฉายโรงใหญ่ต้องผ่านกองเซ็นเซอร์จากรัฐบาลจีนและถูกควบคุมทางสุนทรียะ ชาวจีนเริ่มนิยมเผยแพร่ภาพยนตร์สั้นผ่านเว็บไซต์และมีกลุ่มผู้ชมจำนวนมากจากการเติบโตของสมาร์ทโฟน และวิถีชีวิตในเมืองที่ทำให้คนหันมาฆ่าเวลาด้วยการชมภาพยนตร์ผ่านเว็บ
เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2013 สำนักข่าว BBC กล่าวถึงช่องทางการนำเสนอภาพยนตร์รูปแบบใหม่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยผู้กำกับรุ่นใหม่ได้หันมาใช้วิธีการสร้างภาพยนตร์ขนาดเล็กแบบที่เรียกว่า 'Micro Movies' และนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ให้กับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อหลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลจีน
BBC ได้กล่าวถึงภาพยนตร์ที่ชื่อ "My Way" ซึ่งกล่าวถึงประเด็นคนข้ามเพศในฮ่องกงที่ต้องเผชิญกับความวิตกกังวลด้านต่างๆ ในชีวิต ตั้งแต่การผ่าตัดแปลงเพศ การเผชิญหน้ากับอดีตคนรัก และการดำรงชีวิตอยู่ในประเทศที่คนยังไม่เข้าใจบุคคลข้ามเพศมากนัก ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเผยแพร่ในเทศกาลภาพยนตร์ของฮ่องกงในปี 2012 ที่ผ่านมา
BBC ระบุว่า ฮ่องกงซึ่งปัจจุบันเป็นเขตพื้นที่ปกครองพิเศษของจีนมีเสรีภาพสื่อและการแสดงออกทางศิลปะมากกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้นโยบาย "หนึ่งประเทศ สองระบบ" แต่อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้น้อยที่ภาพยนตร์ขนาดสั้น 20 นาที เรื่อง My Way จะได้ฉายบนจอใหญ่ในจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทางการจีนยังคงไม่อนุญาตให้นำเสนอประเด็นเรื่องบุคคลข้ามเพศหรือ LGBT มากนัก และเทศกาลภาพยนตร์อิสระก็มักจะถูกสั่งปิด
ภาพยนตร์เรื่อง "My Way" จึงไปเผยแพร่ผ่าน Youku ซึ่งเป็นเว็บไซต์อัพโหลดวิดีโอแบบยูทูบของจีน ไม่นานนักก็มีคนเข้าไปชมมากกว่า 4 ล้านครั้ง มีการถกเถียงกันอย่างดุเดือดในพื้นที่แสดงความคิดเห็น
แอน ฮุย ผู้กำกับเรื่อง "My Way" กล่าวว่า เป็นเรื่องที่หาคนให้ทุนได้ยากในตลาดภาพยนตร์กระแสหลัก และทำให้เขาไม่ต้องกังวลกับการพยายามทำให้ภาพยนตร์เน้นขายได้และนำเสนอประเด็นได้อย่างเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของจีนเติบโตมากถึงราวร้อยละ 36.2 ต่อปี โดยรายได้ผู้ซื้อตั๋วเข้าชมภาพยนตร์เมื่อช่วงครึ่งปีแรกของปี 2013 อยู่ที่ 1,790 ล้านดอลลาร์ (ราว 5 หมื่นล้านบาท) แต่ขณะเดียวกันก็เริ่มมีการสร้างสิ่งที่เรียกว่าภาพยนตร์ขนาดเล็กหรือที่ชาวจีนเรียกว่า "Micro Movies" เพิ่มขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ขนาดสั้นที่เน้นช่องทางรับชมผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นช่องทางที่ไม่ต้องผ่านการเซ็นเซอร์ของรัฐและการครอบงำของสตูดิโอ
โลกออนไลน์ของจีนจึงเป็นพื้นที่ของสื่อที่เป็นข้อถกเถียง และการแสดงออกอย่างกล้าหาญในทางศิลปะ ขณะที่สำหรับผู้ชม ภาพยนตร์ขนาดเล็กเหล่านี้ถือเป็นการผ่อนคลายจากโฆษณาชวนเชื่อของสื่อพรรคคอมมิวนิสต์ที่แฝงมาในรูปแบบของความบันเทิง โดยเมื่อปีที่แล้วรัฐบาลจีนก็ได้สั่งให้ถอดผังรายการโทรทัศน์ที่ถูกกล่าวหาว่า "หยาบคาย" และ "ผิดศีลธรรม" โดยมีการนำรายการ "สร้างเสริมศีลธรรม" มาใส่ผังแทน
วิถีชีวิตการชมสื่อบันเทิงแบบพกพา
นอกจากนี้ปัจจัยที่ทำให้มีคนหันมาชมสื่อจากโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้นเนื่องจากประเทศจีนมีการจราจรที่คับคั่งและการเดินทางด้วยรถประจำทางที่ใช้เวลานานผู้คนจึงใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพื่อฆ่าเวลา
"การจราจรแย่มาก ผู้คนต้องต่อคิวทุกที่ ต้องรออะไรสักอย่าง การชมภาพยนตร์เล็กๆ ทำให้พวกเขาหนีจากวิถีชีวิตอันวุ่นวายได้ชั่วคราว" แอนนา ชี ผู้กำกับภาพยนตร์กล่าว
BBC เปิดเผยว่าในปี 2011 มีการสร้างภาพยนตร์ขนาดเล็กในจีนมากกว่า 2,000 เรื่อง ขณะที่ภาพยนตร์กระแสหลักฟอร์มยักษ์มีเพียง 500 เรื่อง
ศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลจีนระบุว่า ในปี 2012 มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตภายในประเทศ 591 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 20 จากการที่ประชาชนจีนสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านทางเครื่องมือแบบพกพาได้ และในจำนวนนั้นมีผู้ดูวิดีโอออนไลน์จำนวน 452 ล้านคนในเดือน ม.ค. 2013
บริษัทการตลาดทางอินเทอร์เน็ตของจีนที่ชื่อ iResearch กล่าวว่าที่ภาพยนตร์ขนาดเล็กเป็นที่นิยมเนื่องจากมันสามารถแชร์และส่งต่อได้ง่ายๆ เช่นเดียวกับเรื่อง My Way ที่มีการส่งต่อกันจนกลายเป็นการแพร่กระจายในวงกว้างระดับไวรัล
BBC ระบุว่าภาพยนตร์ Micro movie เรื่องแรกของชื่อเรื่อง "Old Boys" ซึ่งออกเผยแพร่เมื่อปี 2010 มีความยาว 43 นาที ซึ่งมีจำนวนการเข้าชมแล้ว 60 ล้านครั้ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มเพื่อนมัธยมฯ ที่มีความฝันในทางดนตรี แต่พอโตขึ้นก็ต้องเผชิญโลกความจริงโดยการทำงานธรรมดาๆ ทั่วไป เช่น คนจัดงานแต่งงานหรือช่างตัดผม จนกระทั่งหลายปีต่อมาพวกเขาก็สามารถปลุกเร้าความฝันให้กลับมาได้อีกครั้งจากการเข้าประกวดร้องเพลง
เรื่อง Old Boys อาจจะเล่าถึงความฝัน แรงบันดาล และความผิดหวัง ของคนยุคทศวรรษ 1980 และ 1990 แต่ภาพยนตร์ขนาดเล็กของจีนจำนวนมากมีเป้าหมายเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่เด็กกว่านั้น โดยพูดถึงเรื่องความรัก ความสัมพันธ์ การเรียนจบและหางานทำ และส่วนใหญ่มีฉากอยู่ในเมืองมากกว่าในชนบท เนื่องจากชาวจีนส่วนใหญ่ที่เข้าสู่โลกออนไลน์อาศัยอยู่ในเมือง
โดยนอกจากภาพยนตร์แล้ว ในจีนยังมีผู้สร้าง Micro web serials หรือละครซีรีส์ขนาดเล็กบนเว็บ เช่น ละครซิทคอมเรื่อง "Hip-Hop Office Quartet" เป็นเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มเพื่อนที่ทำงานในออฟฟิศ มีผู้เข้าชมใน Youku มากกว่า 200 ล้านครั้ง และเพิ่งฉายฤดูกาลที่ 5 ไปเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา โดย เจียน เชา ตัวแทนจากเว็บ Youku แสดงความเห็นถึงเรื่องนี้ว่ามันเป็นเรื่องที่สื่อว่าหนุ่มสาวสมัยนี้มีความเป็นอยู่อย่างไรและมีการใช้ภาษาอย่างไร มันเป็นสิ่งที่คุณไม่สามารถเห็นได้จากช่อง CCTV ของรัฐบาลจีน
โอกาส กับการแสดงพลังศิลป์
ชาวจีนหนุ่มสาวในยุคนี้มีโอกาสในการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ขนาดเล็กมากขึ้น จากการที่ใครก็ตามที่มีกล้องวิดีโอก็สามารถถ่ายทำภาพยนตร์และนำเสนอผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ ช่องแสดงความเห็นในเว็บก็ทำให้ผู้กำกับได้รับการตอบรับโดยทันที และสตูดิโอภาพยนตร์ก็มองเห็นผลงานของพวกเขา ขณะเดียวกัน คนในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็เริ่มมีการจัดเทศกาลให้กับภาพยนตร์ประเภทนี้ แม้แต่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอย่าง Tencent และ Youku ก็สร้างภาพยนตร์ของตัวเอง
"ก่อนหน้านี้ทุกคนต้องทำงานอยู่ในเงามืดก่อนที่จะมีสตูดิโอมองเห็นผลงานของคุณ และให้เงินทุนคุณ แต่ในตอนนี้คุณแค่อัพโหลดงานของคุณ คุณก็อาจจะได้รับข้อเสนอดีๆ ได้" เจียน เชา กล่าว
แต่ ลู เยือ นักสร้างภาพยนตร์ในวงการผู้เคยทำงานร่วมกับผู้กำกับจาง อี้โหมว กลับคิดว่าภาพยนตร์ขนาดเล็กเป็นเรื่องของการพยายามสร้างสรรค์งานศิลปะมากกว่าเป็นการพยายามสร้างฐานผลงาน ลู เองก็มีผลงานภาพยนตร์ขนาดสั้นชื่อ 1 Dimension หรือ หนึ่งมิติ ร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์ Beautiful ปี 2013
ผลงานของลู เป็นภาพยนตร์ขาว-ดำ เล่าเรื่องผ่านโครงร่างเงาของตัวละคร ลูบอกว่าเขาต้องการสร้างภาพยนตร์ที่เป็นไปในทางตรงข้ามกับกระแสภาพยนตร์สามมิติซึ่งเป็นที่นิยมในจีน ทำเงินอย่างมหาศาล แต่ก็ทำให้ความงดงามของภาพยนตร์ลดลง
นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่าเมื่อภาพยนตร์ขนาดเล็กได้รับความนิยมในกระแสหลักมากขึ้น พวกมันก็เริ่มสูญเสียคุณค่าในตัวเอง มีบริษัทใหญ่ๆ เข้ามาให้ทุนกับภาพยนตร์ขนาดเล็กเพื่อการวางสินค้าประชาสัมพันธ์ (Product placements)
ขณะที่การเซ็นเซอร์ก็เริ่มคืบคลานเข้ามาสู่วงการภาพยนตร์ขนาดเล็กอย่างรวดเร็ว เมื่อปีที่ผ่านมาสำนักงานสื่อวิทยุ โทรทัศน์และภาพยนตร์ของรัฐบาลจีน ซึ่งทำหน้าที่เป็นกองเซ็นเซอร์ได้ประกาศมาตรการใหม่สำหรับภาพยนตร์ขนาดเล็กและวิดีโออื่นๆ โดยให้เว็บไซต์วิดีโอเซ็นเซอร์เนื้อหาที่มี "การชักจูงไปในทางที่ผิด"
แต่การพยายามต่อสู้เพื่อควบคุมอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลจีนก็ไม่ได้ง่ายนัก เพราะมีภาพยนตร์จำนวนมากถูกโพสต์ในโลกออนไลน์ และดูเหมือนจะยังไม่ซาลง จนผู้ใช้เว็บล็อก Sina Weibo ซึ่งเปรียบเสมือนทวิตเตอร์ของจีนกล่าวไว้ว่า ถ้าหากกองเซ็นเซอร์ของจีนยังคงพยายามไล่ควบคุมภาพยนตร์ขนาดเล็กอยู่ พวกเขาคงไม่กลัวเหนื่อยตายไปก่อน
10 อันดับภาพยนตร์จีนอมตะตลอดกาล!!!
เปิดโผ 10 อันดับภาพยนตร์จีนอมตะ ที่คับแน่นด้วยเนื้อหา และเปี่ยมล้นด้วยเทคนิคถ่ายทำ โดยผ่านการรับประกันคุณภาพจากทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่ศักยภาพการแข่งขันภาพยนตร์จีนสูงขึ้นอย่างต่อ ในฐานะสื่อสะท้อนสังคมจีนตลอดระยะเวลา 107 ปีที่ผ่านมา
จีนมีประวัติการสร้างภาพยนตร์ที่น่าภูมิใจ ภาพยนตร์จีนเริ่มสร้างครั้งแรกในปี 1905 หลังการเกิดภาพยนตร์ในฝรั่งเศสเพียง 10 ปี ในช่วง 20ปี ให้หลังมานี้ ภาพยนตร์จีนได้รับการยอมรับมากขึ้น ในขณะที่ตามหัวเมืองใหญ่ของจีนเต็มไปด้วยบริษัทผู้สร้างมากกว่าร้อยแห่ง และเซี่ยงไฮ้ก็เป็นหนึ่งในนั้น ในทศวรรษที่ 30 และ 40 แม้ว่าจีนจะเข้าสู่ยุคความวุ่นวายทางการเมือง แต่วงการภาพยนตร์จีนก็มิได้หยุดเติบโต ช่วงเวลานั้นผู้สร้างต่างมีมุมมองในการผลิตไปในทางประจักษ์นิยมและเริ่มสร้างภาพยนตร์ในแนวทางวิพากษ์สังคม โดยมีเมืองเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการสร้างสรรค์งาน ภาพยนตร์ในตำนานหลายเรื่องถูกสร้าง ณ เมืองท่าแห่งนี้ อาทิ Crossroads (1937), Angles on the road (1937), A spring river flows east(1947).
ยุค 50 ฮ่องกงและไต้หวันเริ่มมีบทบาทในวงการมากยิ่งขึ้น เวลาต่อมาฮ่องกงกลายเป็นเมืองหลวงของวงการภาพยนตร์จีน หลายฝ่ายต่างกล่าวขานว่าฮ่องกงเป็น “ฮอลลีวูดแห่งโลกตะวันออก” เข้าสู่ยุคทศวรรษที่ 70 ถึงกลางทศวรรษที่ 90 ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางของวงการภาพยนตร์รองจากฮอลลีวูด ว่ากันว่าหนังฮ่องกงพบได้ทุกมุมโลกที่มีชาวจีนโพ้นทะเลอาศัยอยู่
กลับกันวงการภาพยนตร์จีนแผ่นดินใหญ่ยุค 50 การจัดสร้างและตลาดภาพยนตร์ถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดโดยรัฐ จนถึงปลายยุค 70 การสนับสนุนวงการภาพยนตร์โดยรัฐบาลได้ยุติลง ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปและเปิดกว้าง ผู้สร้างต่างหันมาสู่รูปแบบการพาณิชย์มากกว่าก่อน ประชาชนทั่วไปกลับสู่โรงภาพยนตร์อีกครั้ง ในปี 2011 ภาพยนตร์กว่า 560 เรื่องสร้างขึ้นบนจีนแผ่นดินใหญ่ มีรายได้มากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่ามาตรฐานคุณภาพยังไม่ค่อยน่าพอใจนัก
อย่างไรก็ดี ประวัติศาสตร์ยาวนานของวงการภาพยนตร์จีนได้สร้างผู้กำกับชั้นครูไว้หลายท่าน พวกเค้าสร้างพลงานที่มีคุณค่าเหนือกาลเวลา เช่นสิบอมตะภาพยนตร์ที่เวบไซต์ของทางการจีนจัดอันดับไว้ ดังต่อไปนี้
อันดับ 10 วีรบุรุษ (Hero/英雄)
กล่าวถึงยุคสงครามระหว่างรัฐ (ปี 475 - 221 ก่อนคริสตกาล) ประเทศจีนได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 อาณาเขต นานนับทศวรรษที่แคว้นต่างๆ ได้ต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจ ยังผลให้เหล่าประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ในฐานะผู้ครองรัฐที่แข็งแกร่งที่สุด ราชาแห่งรัฐฉินตกเป็นเป้าสังหาร ทำให้ต้องประกาศสอบหาจอมยุทธ์คู่ใจ ครั้นได้พบกับจอมยุทธ์นิรนามผู้เปี่ยมด้วยความสามารถถึงขั้นเอาชนะมือสังหารชั้นยอดได้ทั้ง 3 คน ก็ยังความสงสัยว่ามีจุดประสงค์แอบแฝงใดหรือไม่จึงมายืนอยู่ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระองค์ เรื่องราวอบอวลไปด้วยตำนานแห่งความรัก ความจงรักภักดี และหน้าที่ ท่ามกลางการประลองด้วยเล่ห์เพทุบาย
จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม จางอี้โหมว กลายเป็นบุคคลที่ต้องพูดถึงทุกครั้งที่สนทนาถึงภาพยนตร์จีน จาง สร้างวีรบุรุษ ซึ่งเป็นภาพยนตร์กำลังภายในเรื่องแรกของเขาภายใต้กระบวนการผลิตแบบฮอลลีวูด ทุ่มทุนสร้างกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ กลายเป็นหนังจีนที่ใช้ทุนสร้างมากสุดในเวลานั้น และเป็นแรงฉุดตลาดภาพยนตร์จีนให้กลับมาคึกคักในระดับนานาชาติ ทันทีที่เข้าฉายในปี 2002 วีรบุรุษก็ได้รับการตอบรับอย่างสวยงาม นักวิจารณ์และผู้จัดมั่นใจในศักยภาพของหนังว่าสามารถทำเงินได้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่สามารถเปิดตัวเป็นอันดับหนึ่งในอเมริกาเหนือ มีรายรับกว่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้ถูกวิจารณ์ว่าไม่ใคร่ใส่ใจในส่วนของการ “เล่าเรื่อง” เท่าที่ควร แม้ว่าจะคว้าถึง 14 รางวัลจากภาพยนตร์ทองคำฮ่องกงในปี 2003 ก็ตาม
อันดับที่ 9 ไซอิ๋ว ศึกเทพอสูรสะท้านฟ้า (大话西游หรือ A Chinese Odyssey Duology)
ภาพยนตร์ตลกฮ่องกง กำกับโดย Jeffrey Lau มี Stephen Chow, Karen Mok และ Man Tat Ng แสดงนำ ภาพยนตร์แบ่งออกเป็นสองภาค คือ “กล่องแสงจันทร์” (月光宝盒หรือ pandora‘s box)”กับ “เกือกบุพเพ” (仙履奇缘 หรือ Cinderella )Jeffrey และ Stephen ใช้พล็อตหลักจากหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนอย่าง “ บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก” (西游记หรือ Journey to the west) ซึ่งแต่งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1590 ช่วงราชวงศ์หมิง ประพันธ์โดย หวู่ฉิงเอิน กล่าวถึงเรื่องราวการเดินทางไปยังชมพูทวีป (อินเดีย) เพื่ออัญเชิญคัมภีร์พระพุทธศาสนาของพระเสวียนจั้ง (พระถังซัมจั๋ง) โดยมีสัตว์ 4 ตัวเป็นเพื่อน ได้แก่ วานรซุนวู่คง (ซุนหงอคง) สุกรจูปาเจี้ย (จูกังเลี่ย หรือ ตือโป๊ยก่าย) ปลาซาเหอซ่าง (ซัวเจ๋ง) และเสี่ยวป๋ายหลง (ม้ามังกรขาว) คณะศิษย์อาจารย์ทั้ง 5 ใช้เวลา 14 ปี ผจญเภทภัยเก้าเก้าแปดสิบเอ็ดประการ
เมื่อครั้งเปิดตัวในปี 1995 ไม่มีใครคาดคิดว่าหนังเรื่องนี้จะกลายเป็นภาพยนตร์อมตะเหนือการเวลา แต่เพราะจุดเด่นในการนำความรัก การเดินทาง และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ภายหลังเปิดตัวได้ 3-5 ปี หนังเรื่องนี้ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในหมู่วัยรุ่น สำนวนและรูปประโยคที่ตัวละครใช้ได้ถูกหยิบยืมมาใช้อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่นักวิชาการเริ่มจัดหนังเรื่องนี้เป็นงานชิ้นเอกของ “การถอดรื้อหลังสมัยใหม่” (Post-modern deconstructionist classics) ทว่า เมื่อมองจากยุคปัจจุบันหลายคนอาจตำหนิในเรื่องเทคนิคการถ่ายทำที่ดูล้าสมัย แต่กระนั้นก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามันน่าตื่นตาเพียงไรในยุคที่ยังไม่สามารถดาว์นโหลดหนังได้ทางอินเตอร์เนต
อันดับที่ 8 สองคนสองคม (无间道หรือ Infernal Affairs)
ภาพยนตร์ฮ่องกงแนวแอ็คชั่น ดราม่า ออกฉายในปี 2002 กำกับโดย แอนดริว เลา และ อลัน มักเหลียงเฉาเหว่ย, เฉินฮุ้ยหลิน ตีแผ่วงการตำรวจอย่างถึงแก่น ผ่านการปะทะกันของมาเฟียหานเซิน (แสดงโดย เจิ้งจื่อเหว่ย) และสารวัตรหวง (แสดงโดย หวงซิวเซิน) โดยมีสายสืบจากผ่ายตำรวจ คือ เหริน (แสดงโดย เหลียงเฉาเหว่ย) และสายสืบจากฝ่ายมาเฟีย (แสดงโดย หลิวเต๋อหัว) เป็นตัวดำเนินเรื่อง สายสืบทั้งคู่ได้พบปะกันโดยที่ไม่รู้ว่าต่างฝ่ายต่างก็เป็นสายให้ฝ่ายตรงข้าม ต่อมาจึงได้เอะใจ และหักเหลี่ยมเฉือนคมกัน โดยที่ต้องปิดบังสถานะที่แท้จริงของตัวเอง
ด้วยเรื่องราวที่คลาสสิคหักมุม ทำให้ผู้ชมต้องประหลาดใจครั้งแล้วครั้งเล่า อีกทั้ง คับคั่งไปด้วยนักแสดงคุณภาพ ส่งผลให้ สองคนสองคม เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในฮ่องกงและทุกประเทศที่เข้าฉาย รวมทั้งประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาด้วย โดยได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์มาเฟียฮ่องกงที่ดีที่สุด มีชั้นเชิงที่สุดในรอบเกือบ 20 ปี นับจาก โหด เลว ดี (A Better Tomorrow ) หนังเรื่องนี้ได้รับประกันคุณภาพอย่างมากมาย อาทิ 4 รางวัลชนะเลิศ จากภาพยนตร์ฮ่องกงยอดเยี่ยมครั้งที่ 22 6 รางวัลชนะเลิศจากม้าทองคำครั้งที่ 40 5 รางวัลชนะเลิศจากดอกชงโคทองคำ ครั้งที่ 8 นอกจากนี้ เพราะบทอาชญากรที่ชาญฉลาดทำให้ ฮอลลีวูดต้องนำมาทำซ้ำในรูปของ “The Departed” กำกับโดยมาร์ติน เสกาตส์ ซึ่งต่อมาได้รับรางวัลวิช่วลแอฟเฟกต์ยอดเยี่ยม และรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากออสการ์ ในปี 2007
อันดับที่ 7 เสือซุ่ม มังกรซ่อน (卧虎藏龙 หรือ Crouching Tiger, Hidden Dragon)
เสื่อซุ่ม มังกรซ่อน เป็นสุภาษิตจีน หมายความถึง บุคคลมีความสามารถแต่เก็บตัวหรือไม่ถูกค้นพบ ภาพยนตร์ที่กำกับโดยลูกครึ่งจีนอเมริกันอย่างอังลีเรื่องนี้ จึงเป็นการกล่าวถึงจอมยุทธ์หลี่มู่ป๋าย (แสดงโดย โจวเหวินฟา) บรรลุธรรมต้องการปลีกวิเวก จึงมอบหมายให้หยูซิ่วเหลียน (แสดงโดย หยางจื่อฉง) ส่งดาบคู่ใจส่งไปยังเมืองหลวง แทนสัญลักษณ์อำลาวงการ เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่ดาบกลับตกไปอยู่ในมือของหวางเหวินหลง (แสดงโดย จางจึหยี) หญิงสาวดุดันเอาแต่ใจเสียก่อน เรื่องราวดำเนินสลับไปมาระหว่างความแค้นที่รอวันชำระกับหนทางแห่งการดับทุกข์ด้วยการละโทสะวางอุเบกขา ทั้งสอดแทรกความรักที่ต้องจบลงด้วยการพลีชีพ
นับแต่เข้าฉายในปี 2000 เสือซุ่ม มังกรซ่อน กวาดรายได้จากตั๋วที่ขายในอเมริกาเหนือมีมากกว่า 130 ล้านเหรียญสหรัฐ และดันจางจึหยี “โกอินเตอร์” ทั้งได้รับการรับประกันคุณภาพจากตะวันตกด้วย 4 รางวัลออสการ์ในปี 2001 ในทางประเทศจีนนั้น ผลงานกำกับของหลี่อัน นอกจากจะได้รับการยกย่องเรื่องเสื้อผ้า การแต่งกาย เทคนิคถ่ายทำ และเพลงประกอบแล้ว การทำประเด็นถวิลหาความสันโดษของจอมยุทธ์ให้ชัดขึ้น ยังเป็นจุดเด่นของเขาอีกด้วย แม้บางส่วนจะมองว่าทักษะการแสดงและการใช้ภาษาที่ยังไม่ตรงใจเท่าที่ควรเมื่อเทียบชั้นกับเจ้าพ่อวงการกำลังภายในอย่างเหลียงหยูเชิงหรือจินยงก็ตาม
อันดับที่ 6 วันที่หัวใจรักกล้าตัดขอบฟ้า (阿飞正传หรือ Days of Being Wild)
บางคนมองว่าชื่อ阿飞正传 มาจากหนังสือเรื่อง阿Q正传 (ประวัติจริงของอาคิว) ที่หลู่ซวิ่นเขียนขึ้นมาเพื่อให้ชาวจีนหันมาตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงาตนเองในขณะที่บ้านเมืองกำลังระส่ำระสาย ทว่า วันที่หัวใจรักกล้าตัดขอบฟ้าซึ่งกำกับและเขียนบทโดยเจ้าพ่อหนังอาร์ทจากเกาะฮ่องกง หว่องกาไว (หวังเจียเว่ย) เข้าฉายในปี 1990 นี้ กลับเป็นการพยายามพูดเรื่องถิ่นฐานที่ตัวละครอาศัยอยู่และผูกพัน โดยมียกไจ๋ (แสดงโดย เลสลี่ จาง) หนุ่มหน้าตาดี คารมเยี่ยม มีรถเก๋งขับ อยู่แฟลตส่วนตัว เป็นตัวเดินเรื่อง ด้วยคุณสมบัติเพียบพร้อมเช่นนี้ ทำให้ผู้หญิงหลายคนหลงรักไม่รู้ลืม ไม่ว่าจะเป็นโซวไหล่เจิน (แสดงโดย จางม่านอวี้) พนักงานขายน้ำในสนามกีฬา หรือมี่มี่ (แสดงโดย หลิวเจียหลิง) นักเต้นในไนท์คลับ แต่เพราะเขาคิดเสมอว่าตัวเองเป็นนกไร้ขา ต้องการมีชีวิตอิสระ ที่หัวใจเรียกร้องให้ “บิน” ไปตลอดชีวิต หรือบางทีอาจจะตายไปแล้ว โดยไม่เคยบินไปไหน จึงไม่พร้อมมีพันธะในความสัมพันธ์กับใครทั้งสิ้น ตรงกันข้ามกับตำรวจหนุ่ม (แสดงโดย หลิวเต๋อหัว) ที่มีความฝันที่จะเป็นกะลาสีเรือ แต่เพราะมีแม่ที่ต้องดูแล เขาจึงเลือกใช้ชีวิตอยู่ในโลกของความจริง และพร้อมที่เป็นกำลังใจให้ใครก็ตามโดยไม่คาดหวัง คล้ายกับแดนนี่ (แสดงโดย จางเซียะโหย่ว) ที่เป็นสุภาพบุรุษพอที่จะแสดงความรักโดยไม่ยัดเยียดและถือครอง
ความแปลกแยกของเนื้อหา การเจาะเน้นเรื่องราว ของผู้คนยุคปัจจุบัน ที่อยู่ด้วยความสับสน และเปลี่ยวเหงา ภาวะจิตใจ ที่ไร้การยึดเหนี่ยวและการค้นหาตัวตน คือจุดเด่นของหว่องกาไว จึงทำให้หนังเรื่องนี้ได้รับรางวัลอาทิ นักแสดงยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากการประกาศรางวัลภาพยนตร์ฮ่องกง ครั้งที่10 ในปี 1991 และถูกจัดให้เป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดของฮ่องกงหลายครั้ง นอกจากนี้ การกำกับการแสดงของเขา ผสมฝีมือการกับภาพของคริสโตเฟอร์ ดอยล์ เป็นเอกลักษณ์ที่พบในภาพยนตร์ของเค้าทั้งคู่อีกหลายเรื่องต่อมาไม่ว่าจะเป็น Chungking Express, Ashes of Time, Fallen Angels , Happy Together , In the Mood for Love และ "2046" ที่มีธงไชย แมคอินไตย์ ร่วมแสดงด้วย
อันดับที่ 5 อาดูรแห่งแผ่นดิน (悲情城市หรือ A City of Sadness)
ควบคุมการสร้างโดยโหวเซี่ยวเสียน ปรมาจารย์จอเงินแห่งไต้หวัน เข้าฉายในปี 1989 โหวใช้ศิลปะการแสดงแบบเรียบง่ายแต่ทรงพลังในการเล่าเรื่องเหตุการณ์ความตระหนกสีขาว (白色恐怖หรือ White Terror) ในยุคก๊กมินตั๋ง ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ไต้หวัน ผ่านการฉายภาพโศกนาฏกรรมของครอบครัวหนึ่งที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นไต้หวันและรัฐบาลคณะชาติจากจีนใหญ่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อสะท้อนผลกระทบของเหตุการณ์ที่มีต่อปัจเจกชนหรือคนกลุ่มเล็กๆ อันเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่พูดถึงเหตุการณ์ 28/2 ในปี 1947 ที่มีบรรดา นักศึกษา ทนายความ แพทย์ ผู้นำชุมชน ถูกสังหารหมู่ไปนับหมื่นคน ส่วนที่เหลือหนีกระเซอะกระเซิงเข้าป่า บ้างถูกจับและจับกุมคุมขังอยู่จนกระทั่งกลางยุค 80
นักวิเคราะห์หนังเจอรี่ ไวท์ กล่าวว่า จุดเด่นของหนังเรื่องนี้ คือ เทคนิคการเสกโศกนาฏกรรมจากความว่างเปล่า อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของโหวเซี่ยวเสียน เขาใช้การส่งสัญญาณ บอกใบ้ แก่คนดูผ่านฝีภาพยาว (long take) บ้าง ภาพวิถีไกล (long shot) ของตัวเมืองรกร้างบ้าง เพื่อแสดงความวิปโยคของภาวะสงครามกลางเมืองแทนที่เสียงกระสุนหรือกองเลือด ทำให้คนดูอาจขาดอารมณ์ร่วม และถูกจัดวางในฐานะผู้สังเกตการณ์ที่นิ่งสุขุมเท่านั้นภาพยนตร์เรื่องนี้กวาดรางวัลสิงโตทองคำ (The Golden Lion) พร้อมกับรับรางวัล UNESCO จากงานเทศกาลหนังนานาชาติเวนิส ( Venice International Film Festival) ในปี 1989 นับเป็นภาพยนตร์ภาษาจีนเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลนี้
อันดับ 4 หนึ่งหนึ่ง (一一หรือ A One and a Two)
ภาพยนตร์ดราม่าไต้หวันจากผลงานการกำกับของเอ็ดเวิร์ด ยาง ในปี 2000 เล่าเรื่องราวของครอบครัวชนชั้นกลางแห่งไทเป 3 ช่วงอายุคน คือ ช่วงปลาย ช่วงกลาง และช่วงต้น ที่ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยด้วยปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ผ่านตระกูลเจียนซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิก 5 คน คือ คุณย่าที่ต้องเผชิญกับความร่วงโรยของวัย พ่อและแม่ที่ต้องเผชิญกับภาระหน้าที่การงานและสมานความสัมพันธ์ครอบครัว ลูกสาวและลูกชายที่ต้องเผชิญกับภาระการเรียน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างครูและเพื่อนฝูง หนังดำเนินเรื่องไปอย่างช้าๆ จนดูเหมือนว่าจะขาดจุด “climax” ไป ราวกับการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
การใช้ตัวหนังบอกเล่าทัศนคติของตัวเองที่มีต่อผู้คนด้วยความเป็นกลาง ไม่พิพากษาตัดสิน ส่งผลให้ยาง ได้รับรางวัลมากมายจากทั่วโลก อาทิ รางวัลกำกับยอดเยี่ยม จากเทศกาลหนังคานส์ ในปี 2000 รางวัลภาพยนตร์ต่างชาติยอดเยี่ยมจากนักวิจารณ์ภาพยนตร์ฝรั่งเศส ในปี 2001 รางวัลจากสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ลอสแองเจลิส ในปี 2000 และรางวัลจากวงการณ์วิจารณ์ภาพยนตร์นิวยอร์ค ในปี 2000 และนอกจากจะถูกจัดอันดับเป็นหนัง 1 ใน 10 ภาพและเสียงยอดเยี่ยมในรอบ 25 ปีแล้ว หนึ่งหนึ่งยังได้รับการกล่าวขานในฐานะภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปี 2001 จากหลายสำนักพิมพ์ อาทิ USA Today, the New York Times, Newsweek and Film Commentและ the British Film Institute's magazine ในปี 2002
อันดับ 3 หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม (霸王别姬หรือ Farewell My Concubine)
ภาพยนตร์ที่เข้าฉายในปี 1993 เรื่องนี้ใช้ชื่อเดียวกับการแสดงอุปรากรจีน (京剧หรือ Peking Opera ) ชุดหนึ่ง เกี่ยวกับการรบเมื่อ 202 ปีก่อนคริสตกาล การสถาปนาราชวงศ์ฮั่น และศาลาโบตั๋น โดยปรับบทจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ Lilian Lee อันเป็นงานเขียนต้องห้ามของพรรคคอมมิวนิสต์ กล่าวถึงเรื่องราวชีวิตที่ขึ้นลงของ 2 นักแสดงอุปรากรจีนชายคือ เฉิงเตี้ยอี้ (แสดงโดย เลสลีจาง) ที่ได้รับการฝึกฝนให้รับบทเป็นตัวนาง กับต้วนเสี่ยวโหลว (แสดงโดย จางเฟิงอี้) เพื่อนรุ่นพี่ที่คอยปกป้องเขามาตั้งแต่เด็ก พร้อมปมความสัมพันธ์แบบสามเส้าเมื่อมีตัวละครนางโลมจูเสียน (แสดงโดย กงลี่) เพิ่มขึ้นมา ภาพยนตร์จบลงที่โศกนาฎกรรมจากความตายของเฉิงเตี้ยอี้ที่ใช้ดาบเชือดคอตัวเอง
นอกจากการนำเสนอห้วงวันเวลาที่อลหม่านของสังคมและการเมืองระหว่างปี 1920 ถึง1970 นับแต่ยุคสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง การพ่ายแพ้ของกองทัพญี่ปุ่น การโค่นล้มพรรคก๊กมินตั๋งโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผ่านยุคการปฏิวัติทางวัฒนธรรมที่งิ้วกลายเป็นสิ่งต้องห้าม จนมาถึงยุคปัจจุบัน เรื่องราวความรักที่ผิดจารีตประเพณีซึ่งหาได้ยากยิ่ง ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นทั้งเพชรยอดมงกุฎของวงการหนังจีน และเป็นภาพยนตร์ภาษาจีนเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 1993 นับเป็นความภาคภูมิใจของผู้กำกับชื่อก้อง เฉินข่ายเก๋อ
อันดับ 2 รอวันรัก…3 หัวใจ (小城之春หรือ Spring in a Small Town)
ผลงานเรื่องล่าสุดของ เถียนจวงจวง และทีมผู้สร้างเสือซุ่ม มังกรซ่อน กำกับโดย เฟ่ยมู่ เข้าฉายในปี 1984 อิงจากเรื่องราวของหลี่เทียนจี้ ถ่ายทอดความรักสามเส้า บอกเล่าความสับสนในมิตรภาพระหว่างเพื่อน การโหยหาคนรักที่ใฝ่ฝัน และบทบาทหน้าที่ทางสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงที่กำลังเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ณ เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่ง แม้ว่าจะปราศจากโครงเรื่องที่ซับซ้อน แต่ก็ได้รับการชื่นชมว่าตัวละครสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกในสถานการณ์ที่เปราะบางออกมาได้เป็นอย่างดี และถูกยกย่องเป็นหนังภาษากวีรุ่นบุกเบิก
ภาพยนตร์ได้รับรางวัลทั้งในและต่างประเทศ เช่น ได้รับยกย่องว่าเป็นหนังอมตะตลอดกาล จากคณะกรรมการภาพยนตร์จีน ได้รับยกย่องว่าเป็นหนังจีนที่ดีที่สุดที่เคยสร้างมา จากสมาคมจัดอันดับภาพยนตร์ฮ่องกง ในปี 2005 ถูกจัดเป็น 1 ใน 10 สุดยอดหนังจีนจากหนังสือพิมพ์แคนนาดา Winnipeg Free Press ในปี 2012 หรือแม้แต่ผู้กำกับชื่อก้อง จางอี้โหมวก็ยังกล่าวว่าเป็นหนังที่เค้าชื่อชอบที่สุด
อันดับ 1 แม่น้ำฤดูใบไม้ผลิไหลสู่ทิศตะวันออก (江春水向东流หรือ A Spring River Flows East)
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างในปี 1947 เขียนบทและกำกับโดยไช่ฉู่เซิง และเจิ้งจุนลี่เรื่องราวยาวกว่า 3 ชั่วโมงถูกแบ่งเป็นสองตอน คือ พรัดจากแปดปี (八年离乱) กับวันฟ้าสว่าง (天亮前后) กล่าวถึงเรื่องราวของหวางซู่เฟิน พนักงานโรงงานทอผ้าพบรักกับอาจารย์หนุ่มจางจงเหลียง ซึ่งสอนอยู่ที่การศึกษานอกโรงเรียน ทั้งคู่ตกลงใจแต่งงานกัน ทว่า เหตุการณ์ต่อต้านญี่ปุ่น 813 ทำให้ครอบครัวแตกกระสานซ่านเซน จางจงเหลียงต้องไปช่วยผู้บาดเจ็บที่เซี่ยงไฮ้ ส่วนหวางซู่เฟินพาลูกชายและแม่สะใภ้กลับบ้านนอก พ่อสะใภ้ถูกทหารญี่ปุ่นทารุณกรรมจนเสียชีวิต หวางซู่เฟินจึงตัดสินใจพาแม่สะใภ้กลับเซี่ยงไฮ้เพื่อรอคอยการกลับมาพร้อมหน้ากันอีกครั้ง แม้จะต้องอยู่อย่างรันทดเพียงใดก็ตาม ในขณะที่พระเอกซึ่งถูกทหารญี่ปุ่นขับไล่ไปอยู่ฉงชิ่ง ด้วยสภาพแวดล้อมที่ยั่วยวน ตกเป็นสามีจำแลงของหวางลี่เจิน ลูกสาวโรงงานส่งออก ต่อมาจางจงเหลียงย้ายไปประจำที่สำนักพิมพ์พี่เขยของหวางลี่เจิน พบกับหวางซู่เฟินที่มาเป็นพนักงานรับใช้ที่บังเอิญ แต่เพราะความโลภในสมบัติจึงไม่ยอมรับในสถานะและกลบมาใช้ชีวิตครอบครัวเหมือนกัน ทำให้หวางซุ่เฟินเศร้าโศรกเสียใจจนปลิดชีวิตลงที่แม่น้ำแยงซี
ด้วยศิลปะในการผสมผสานเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กับการถ่ายทอดโศกนาฏกรรมจากชีวิตจริง ผ่านการพรักพรากที่ปวดร้าวและกระแสคอรัปชั่นขายชาติในช่วงสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ณ เมืองเซี่องไฮ้ในยุคทศวรรษ 30 และ 40 ทำให้ภาพยนตร์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและฉายอยู่นานกว่า 3 เดือนทันทีที่ออกฉาย ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ กล่าวกันว่ามีผู้ชมมากว่า 700,000 คน และ เป็น 15 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเมือง
จีนมีประวัติการสร้างภาพยนตร์ที่น่าภูมิใจ ภาพยนตร์จีนเริ่มสร้างครั้งแรกในปี 1905 หลังการเกิดภาพยนตร์ในฝรั่งเศสเพียง 10 ปี ในช่วง 20ปี ให้หลังมานี้ ภาพยนตร์จีนได้รับการยอมรับมากขึ้น ในขณะที่ตามหัวเมืองใหญ่ของจีนเต็มไปด้วยบริษัทผู้สร้างมากกว่าร้อยแห่ง และเซี่ยงไฮ้ก็เป็นหนึ่งในนั้น ในทศวรรษที่ 30 และ 40 แม้ว่าจีนจะเข้าสู่ยุคความวุ่นวายทางการเมือง แต่วงการภาพยนตร์จีนก็มิได้หยุดเติบโต ช่วงเวลานั้นผู้สร้างต่างมีมุมมองในการผลิตไปในทางประจักษ์นิยมและเริ่มสร้างภาพยนตร์ในแนวทางวิพากษ์สังคม โดยมีเมืองเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการสร้างสรรค์งาน ภาพยนตร์ในตำนานหลายเรื่องถูกสร้าง ณ เมืองท่าแห่งนี้ อาทิ Crossroads (1937), Angles on the road (1937), A spring river flows east(1947).
ยุค 50 ฮ่องกงและไต้หวันเริ่มมีบทบาทในวงการมากยิ่งขึ้น เวลาต่อมาฮ่องกงกลายเป็นเมืองหลวงของวงการภาพยนตร์จีน หลายฝ่ายต่างกล่าวขานว่าฮ่องกงเป็น “ฮอลลีวูดแห่งโลกตะวันออก” เข้าสู่ยุคทศวรรษที่ 70 ถึงกลางทศวรรษที่ 90 ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางของวงการภาพยนตร์รองจากฮอลลีวูด ว่ากันว่าหนังฮ่องกงพบได้ทุกมุมโลกที่มีชาวจีนโพ้นทะเลอาศัยอยู่
กลับกันวงการภาพยนตร์จีนแผ่นดินใหญ่ยุค 50 การจัดสร้างและตลาดภาพยนตร์ถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดโดยรัฐ จนถึงปลายยุค 70 การสนับสนุนวงการภาพยนตร์โดยรัฐบาลได้ยุติลง ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปและเปิดกว้าง ผู้สร้างต่างหันมาสู่รูปแบบการพาณิชย์มากกว่าก่อน ประชาชนทั่วไปกลับสู่โรงภาพยนตร์อีกครั้ง ในปี 2011 ภาพยนตร์กว่า 560 เรื่องสร้างขึ้นบนจีนแผ่นดินใหญ่ มีรายได้มากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่ามาตรฐานคุณภาพยังไม่ค่อยน่าพอใจนัก
อย่างไรก็ดี ประวัติศาสตร์ยาวนานของวงการภาพยนตร์จีนได้สร้างผู้กำกับชั้นครูไว้หลายท่าน พวกเค้าสร้างพลงานที่มีคุณค่าเหนือกาลเวลา เช่นสิบอมตะภาพยนตร์ที่เวบไซต์ของทางการจีนจัดอันดับไว้ ดังต่อไปนี้
อันดับ 10 วีรบุรุษ (Hero/英雄)
กล่าวถึงยุคสงครามระหว่างรัฐ (ปี 475 - 221 ก่อนคริสตกาล) ประเทศจีนได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 อาณาเขต นานนับทศวรรษที่แคว้นต่างๆ ได้ต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจ ยังผลให้เหล่าประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ในฐานะผู้ครองรัฐที่แข็งแกร่งที่สุด ราชาแห่งรัฐฉินตกเป็นเป้าสังหาร ทำให้ต้องประกาศสอบหาจอมยุทธ์คู่ใจ ครั้นได้พบกับจอมยุทธ์นิรนามผู้เปี่ยมด้วยความสามารถถึงขั้นเอาชนะมือสังหารชั้นยอดได้ทั้ง 3 คน ก็ยังความสงสัยว่ามีจุดประสงค์แอบแฝงใดหรือไม่จึงมายืนอยู่ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระองค์ เรื่องราวอบอวลไปด้วยตำนานแห่งความรัก ความจงรักภักดี และหน้าที่ ท่ามกลางการประลองด้วยเล่ห์เพทุบาย
จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม จางอี้โหมว กลายเป็นบุคคลที่ต้องพูดถึงทุกครั้งที่สนทนาถึงภาพยนตร์จีน จาง สร้างวีรบุรุษ ซึ่งเป็นภาพยนตร์กำลังภายในเรื่องแรกของเขาภายใต้กระบวนการผลิตแบบฮอลลีวูด ทุ่มทุนสร้างกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ กลายเป็นหนังจีนที่ใช้ทุนสร้างมากสุดในเวลานั้น และเป็นแรงฉุดตลาดภาพยนตร์จีนให้กลับมาคึกคักในระดับนานาชาติ ทันทีที่เข้าฉายในปี 2002 วีรบุรุษก็ได้รับการตอบรับอย่างสวยงาม นักวิจารณ์และผู้จัดมั่นใจในศักยภาพของหนังว่าสามารถทำเงินได้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่สามารถเปิดตัวเป็นอันดับหนึ่งในอเมริกาเหนือ มีรายรับกว่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้ถูกวิจารณ์ว่าไม่ใคร่ใส่ใจในส่วนของการ “เล่าเรื่อง” เท่าที่ควร แม้ว่าจะคว้าถึง 14 รางวัลจากภาพยนตร์ทองคำฮ่องกงในปี 2003 ก็ตาม
อันดับที่ 9 ไซอิ๋ว ศึกเทพอสูรสะท้านฟ้า (大话西游หรือ A Chinese Odyssey Duology)
ภาพยนตร์ตลกฮ่องกง กำกับโดย Jeffrey Lau มี Stephen Chow, Karen Mok และ Man Tat Ng แสดงนำ ภาพยนตร์แบ่งออกเป็นสองภาค คือ “กล่องแสงจันทร์” (月光宝盒หรือ pandora‘s box)”กับ “เกือกบุพเพ” (仙履奇缘 หรือ Cinderella )Jeffrey และ Stephen ใช้พล็อตหลักจากหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนอย่าง “ บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก” (西游记หรือ Journey to the west) ซึ่งแต่งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1590 ช่วงราชวงศ์หมิง ประพันธ์โดย หวู่ฉิงเอิน กล่าวถึงเรื่องราวการเดินทางไปยังชมพูทวีป (อินเดีย) เพื่ออัญเชิญคัมภีร์พระพุทธศาสนาของพระเสวียนจั้ง (พระถังซัมจั๋ง) โดยมีสัตว์ 4 ตัวเป็นเพื่อน ได้แก่ วานรซุนวู่คง (ซุนหงอคง) สุกรจูปาเจี้ย (จูกังเลี่ย หรือ ตือโป๊ยก่าย) ปลาซาเหอซ่าง (ซัวเจ๋ง) และเสี่ยวป๋ายหลง (ม้ามังกรขาว) คณะศิษย์อาจารย์ทั้ง 5 ใช้เวลา 14 ปี ผจญเภทภัยเก้าเก้าแปดสิบเอ็ดประการ
เมื่อครั้งเปิดตัวในปี 1995 ไม่มีใครคาดคิดว่าหนังเรื่องนี้จะกลายเป็นภาพยนตร์อมตะเหนือการเวลา แต่เพราะจุดเด่นในการนำความรัก การเดินทาง และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ภายหลังเปิดตัวได้ 3-5 ปี หนังเรื่องนี้ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในหมู่วัยรุ่น สำนวนและรูปประโยคที่ตัวละครใช้ได้ถูกหยิบยืมมาใช้อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่นักวิชาการเริ่มจัดหนังเรื่องนี้เป็นงานชิ้นเอกของ “การถอดรื้อหลังสมัยใหม่” (Post-modern deconstructionist classics) ทว่า เมื่อมองจากยุคปัจจุบันหลายคนอาจตำหนิในเรื่องเทคนิคการถ่ายทำที่ดูล้าสมัย แต่กระนั้นก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามันน่าตื่นตาเพียงไรในยุคที่ยังไม่สามารถดาว์นโหลดหนังได้ทางอินเตอร์เนต
อันดับที่ 8 สองคนสองคม (无间道หรือ Infernal Affairs)
ภาพยนตร์ฮ่องกงแนวแอ็คชั่น ดราม่า ออกฉายในปี 2002 กำกับโดย แอนดริว เลา และ อลัน มักเหลียงเฉาเหว่ย, เฉินฮุ้ยหลิน ตีแผ่วงการตำรวจอย่างถึงแก่น ผ่านการปะทะกันของมาเฟียหานเซิน (แสดงโดย เจิ้งจื่อเหว่ย) และสารวัตรหวง (แสดงโดย หวงซิวเซิน) โดยมีสายสืบจากผ่ายตำรวจ คือ เหริน (แสดงโดย เหลียงเฉาเหว่ย) และสายสืบจากฝ่ายมาเฟีย (แสดงโดย หลิวเต๋อหัว) เป็นตัวดำเนินเรื่อง สายสืบทั้งคู่ได้พบปะกันโดยที่ไม่รู้ว่าต่างฝ่ายต่างก็เป็นสายให้ฝ่ายตรงข้าม ต่อมาจึงได้เอะใจ และหักเหลี่ยมเฉือนคมกัน โดยที่ต้องปิดบังสถานะที่แท้จริงของตัวเอง
ด้วยเรื่องราวที่คลาสสิคหักมุม ทำให้ผู้ชมต้องประหลาดใจครั้งแล้วครั้งเล่า อีกทั้ง คับคั่งไปด้วยนักแสดงคุณภาพ ส่งผลให้ สองคนสองคม เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในฮ่องกงและทุกประเทศที่เข้าฉาย รวมทั้งประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาด้วย โดยได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์มาเฟียฮ่องกงที่ดีที่สุด มีชั้นเชิงที่สุดในรอบเกือบ 20 ปี นับจาก โหด เลว ดี (A Better Tomorrow ) หนังเรื่องนี้ได้รับประกันคุณภาพอย่างมากมาย อาทิ 4 รางวัลชนะเลิศ จากภาพยนตร์ฮ่องกงยอดเยี่ยมครั้งที่ 22 6 รางวัลชนะเลิศจากม้าทองคำครั้งที่ 40 5 รางวัลชนะเลิศจากดอกชงโคทองคำ ครั้งที่ 8 นอกจากนี้ เพราะบทอาชญากรที่ชาญฉลาดทำให้ ฮอลลีวูดต้องนำมาทำซ้ำในรูปของ “The Departed” กำกับโดยมาร์ติน เสกาตส์ ซึ่งต่อมาได้รับรางวัลวิช่วลแอฟเฟกต์ยอดเยี่ยม และรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากออสการ์ ในปี 2007
อันดับที่ 7 เสือซุ่ม มังกรซ่อน (卧虎藏龙 หรือ Crouching Tiger, Hidden Dragon)
เสื่อซุ่ม มังกรซ่อน เป็นสุภาษิตจีน หมายความถึง บุคคลมีความสามารถแต่เก็บตัวหรือไม่ถูกค้นพบ ภาพยนตร์ที่กำกับโดยลูกครึ่งจีนอเมริกันอย่างอังลีเรื่องนี้ จึงเป็นการกล่าวถึงจอมยุทธ์หลี่มู่ป๋าย (แสดงโดย โจวเหวินฟา) บรรลุธรรมต้องการปลีกวิเวก จึงมอบหมายให้หยูซิ่วเหลียน (แสดงโดย หยางจื่อฉง) ส่งดาบคู่ใจส่งไปยังเมืองหลวง แทนสัญลักษณ์อำลาวงการ เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่ดาบกลับตกไปอยู่ในมือของหวางเหวินหลง (แสดงโดย จางจึหยี) หญิงสาวดุดันเอาแต่ใจเสียก่อน เรื่องราวดำเนินสลับไปมาระหว่างความแค้นที่รอวันชำระกับหนทางแห่งการดับทุกข์ด้วยการละโทสะวางอุเบกขา ทั้งสอดแทรกความรักที่ต้องจบลงด้วยการพลีชีพ
นับแต่เข้าฉายในปี 2000 เสือซุ่ม มังกรซ่อน กวาดรายได้จากตั๋วที่ขายในอเมริกาเหนือมีมากกว่า 130 ล้านเหรียญสหรัฐ และดันจางจึหยี “โกอินเตอร์” ทั้งได้รับการรับประกันคุณภาพจากตะวันตกด้วย 4 รางวัลออสการ์ในปี 2001 ในทางประเทศจีนนั้น ผลงานกำกับของหลี่อัน นอกจากจะได้รับการยกย่องเรื่องเสื้อผ้า การแต่งกาย เทคนิคถ่ายทำ และเพลงประกอบแล้ว การทำประเด็นถวิลหาความสันโดษของจอมยุทธ์ให้ชัดขึ้น ยังเป็นจุดเด่นของเขาอีกด้วย แม้บางส่วนจะมองว่าทักษะการแสดงและการใช้ภาษาที่ยังไม่ตรงใจเท่าที่ควรเมื่อเทียบชั้นกับเจ้าพ่อวงการกำลังภายในอย่างเหลียงหยูเชิงหรือจินยงก็ตาม
อันดับที่ 6 วันที่หัวใจรักกล้าตัดขอบฟ้า (阿飞正传หรือ Days of Being Wild)
บางคนมองว่าชื่อ阿飞正传 มาจากหนังสือเรื่อง阿Q正传 (ประวัติจริงของอาคิว) ที่หลู่ซวิ่นเขียนขึ้นมาเพื่อให้ชาวจีนหันมาตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงาตนเองในขณะที่บ้านเมืองกำลังระส่ำระสาย ทว่า วันที่หัวใจรักกล้าตัดขอบฟ้าซึ่งกำกับและเขียนบทโดยเจ้าพ่อหนังอาร์ทจากเกาะฮ่องกง หว่องกาไว (หวังเจียเว่ย) เข้าฉายในปี 1990 นี้ กลับเป็นการพยายามพูดเรื่องถิ่นฐานที่ตัวละครอาศัยอยู่และผูกพัน โดยมียกไจ๋ (แสดงโดย เลสลี่ จาง) หนุ่มหน้าตาดี คารมเยี่ยม มีรถเก๋งขับ อยู่แฟลตส่วนตัว เป็นตัวเดินเรื่อง ด้วยคุณสมบัติเพียบพร้อมเช่นนี้ ทำให้ผู้หญิงหลายคนหลงรักไม่รู้ลืม ไม่ว่าจะเป็นโซวไหล่เจิน (แสดงโดย จางม่านอวี้) พนักงานขายน้ำในสนามกีฬา หรือมี่มี่ (แสดงโดย หลิวเจียหลิง) นักเต้นในไนท์คลับ แต่เพราะเขาคิดเสมอว่าตัวเองเป็นนกไร้ขา ต้องการมีชีวิตอิสระ ที่หัวใจเรียกร้องให้ “บิน” ไปตลอดชีวิต หรือบางทีอาจจะตายไปแล้ว โดยไม่เคยบินไปไหน จึงไม่พร้อมมีพันธะในความสัมพันธ์กับใครทั้งสิ้น ตรงกันข้ามกับตำรวจหนุ่ม (แสดงโดย หลิวเต๋อหัว) ที่มีความฝันที่จะเป็นกะลาสีเรือ แต่เพราะมีแม่ที่ต้องดูแล เขาจึงเลือกใช้ชีวิตอยู่ในโลกของความจริง และพร้อมที่เป็นกำลังใจให้ใครก็ตามโดยไม่คาดหวัง คล้ายกับแดนนี่ (แสดงโดย จางเซียะโหย่ว) ที่เป็นสุภาพบุรุษพอที่จะแสดงความรักโดยไม่ยัดเยียดและถือครอง
ความแปลกแยกของเนื้อหา การเจาะเน้นเรื่องราว ของผู้คนยุคปัจจุบัน ที่อยู่ด้วยความสับสน และเปลี่ยวเหงา ภาวะจิตใจ ที่ไร้การยึดเหนี่ยวและการค้นหาตัวตน คือจุดเด่นของหว่องกาไว จึงทำให้หนังเรื่องนี้ได้รับรางวัลอาทิ นักแสดงยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากการประกาศรางวัลภาพยนตร์ฮ่องกง ครั้งที่10 ในปี 1991 และถูกจัดให้เป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดของฮ่องกงหลายครั้ง นอกจากนี้ การกำกับการแสดงของเขา ผสมฝีมือการกับภาพของคริสโตเฟอร์ ดอยล์ เป็นเอกลักษณ์ที่พบในภาพยนตร์ของเค้าทั้งคู่อีกหลายเรื่องต่อมาไม่ว่าจะเป็น Chungking Express, Ashes of Time, Fallen Angels , Happy Together , In the Mood for Love และ "2046" ที่มีธงไชย แมคอินไตย์ ร่วมแสดงด้วย
อันดับที่ 5 อาดูรแห่งแผ่นดิน (悲情城市หรือ A City of Sadness)
ควบคุมการสร้างโดยโหวเซี่ยวเสียน ปรมาจารย์จอเงินแห่งไต้หวัน เข้าฉายในปี 1989 โหวใช้ศิลปะการแสดงแบบเรียบง่ายแต่ทรงพลังในการเล่าเรื่องเหตุการณ์ความตระหนกสีขาว (白色恐怖หรือ White Terror) ในยุคก๊กมินตั๋ง ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ไต้หวัน ผ่านการฉายภาพโศกนาฏกรรมของครอบครัวหนึ่งที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นไต้หวันและรัฐบาลคณะชาติจากจีนใหญ่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อสะท้อนผลกระทบของเหตุการณ์ที่มีต่อปัจเจกชนหรือคนกลุ่มเล็กๆ อันเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่พูดถึงเหตุการณ์ 28/2 ในปี 1947 ที่มีบรรดา นักศึกษา ทนายความ แพทย์ ผู้นำชุมชน ถูกสังหารหมู่ไปนับหมื่นคน ส่วนที่เหลือหนีกระเซอะกระเซิงเข้าป่า บ้างถูกจับและจับกุมคุมขังอยู่จนกระทั่งกลางยุค 80
นักวิเคราะห์หนังเจอรี่ ไวท์ กล่าวว่า จุดเด่นของหนังเรื่องนี้ คือ เทคนิคการเสกโศกนาฏกรรมจากความว่างเปล่า อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของโหวเซี่ยวเสียน เขาใช้การส่งสัญญาณ บอกใบ้ แก่คนดูผ่านฝีภาพยาว (long take) บ้าง ภาพวิถีไกล (long shot) ของตัวเมืองรกร้างบ้าง เพื่อแสดงความวิปโยคของภาวะสงครามกลางเมืองแทนที่เสียงกระสุนหรือกองเลือด ทำให้คนดูอาจขาดอารมณ์ร่วม และถูกจัดวางในฐานะผู้สังเกตการณ์ที่นิ่งสุขุมเท่านั้นภาพยนตร์เรื่องนี้กวาดรางวัลสิงโตทองคำ (The Golden Lion) พร้อมกับรับรางวัล UNESCO จากงานเทศกาลหนังนานาชาติเวนิส ( Venice International Film Festival) ในปี 1989 นับเป็นภาพยนตร์ภาษาจีนเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลนี้
อันดับ 4 หนึ่งหนึ่ง (一一หรือ A One and a Two)
ภาพยนตร์ดราม่าไต้หวันจากผลงานการกำกับของเอ็ดเวิร์ด ยาง ในปี 2000 เล่าเรื่องราวของครอบครัวชนชั้นกลางแห่งไทเป 3 ช่วงอายุคน คือ ช่วงปลาย ช่วงกลาง และช่วงต้น ที่ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยด้วยปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ผ่านตระกูลเจียนซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิก 5 คน คือ คุณย่าที่ต้องเผชิญกับความร่วงโรยของวัย พ่อและแม่ที่ต้องเผชิญกับภาระหน้าที่การงานและสมานความสัมพันธ์ครอบครัว ลูกสาวและลูกชายที่ต้องเผชิญกับภาระการเรียน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างครูและเพื่อนฝูง หนังดำเนินเรื่องไปอย่างช้าๆ จนดูเหมือนว่าจะขาดจุด “climax” ไป ราวกับการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
การใช้ตัวหนังบอกเล่าทัศนคติของตัวเองที่มีต่อผู้คนด้วยความเป็นกลาง ไม่พิพากษาตัดสิน ส่งผลให้ยาง ได้รับรางวัลมากมายจากทั่วโลก อาทิ รางวัลกำกับยอดเยี่ยม จากเทศกาลหนังคานส์ ในปี 2000 รางวัลภาพยนตร์ต่างชาติยอดเยี่ยมจากนักวิจารณ์ภาพยนตร์ฝรั่งเศส ในปี 2001 รางวัลจากสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ลอสแองเจลิส ในปี 2000 และรางวัลจากวงการณ์วิจารณ์ภาพยนตร์นิวยอร์ค ในปี 2000 และนอกจากจะถูกจัดอันดับเป็นหนัง 1 ใน 10 ภาพและเสียงยอดเยี่ยมในรอบ 25 ปีแล้ว หนึ่งหนึ่งยังได้รับการกล่าวขานในฐานะภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปี 2001 จากหลายสำนักพิมพ์ อาทิ USA Today, the New York Times, Newsweek and Film Commentและ the British Film Institute's magazine ในปี 2002
อันดับ 3 หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม (霸王别姬หรือ Farewell My Concubine)
ภาพยนตร์ที่เข้าฉายในปี 1993 เรื่องนี้ใช้ชื่อเดียวกับการแสดงอุปรากรจีน (京剧หรือ Peking Opera ) ชุดหนึ่ง เกี่ยวกับการรบเมื่อ 202 ปีก่อนคริสตกาล การสถาปนาราชวงศ์ฮั่น และศาลาโบตั๋น โดยปรับบทจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ Lilian Lee อันเป็นงานเขียนต้องห้ามของพรรคคอมมิวนิสต์ กล่าวถึงเรื่องราวชีวิตที่ขึ้นลงของ 2 นักแสดงอุปรากรจีนชายคือ เฉิงเตี้ยอี้ (แสดงโดย เลสลีจาง) ที่ได้รับการฝึกฝนให้รับบทเป็นตัวนาง กับต้วนเสี่ยวโหลว (แสดงโดย จางเฟิงอี้) เพื่อนรุ่นพี่ที่คอยปกป้องเขามาตั้งแต่เด็ก พร้อมปมความสัมพันธ์แบบสามเส้าเมื่อมีตัวละครนางโลมจูเสียน (แสดงโดย กงลี่) เพิ่มขึ้นมา ภาพยนตร์จบลงที่โศกนาฎกรรมจากความตายของเฉิงเตี้ยอี้ที่ใช้ดาบเชือดคอตัวเอง
นอกจากการนำเสนอห้วงวันเวลาที่อลหม่านของสังคมและการเมืองระหว่างปี 1920 ถึง1970 นับแต่ยุคสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง การพ่ายแพ้ของกองทัพญี่ปุ่น การโค่นล้มพรรคก๊กมินตั๋งโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผ่านยุคการปฏิวัติทางวัฒนธรรมที่งิ้วกลายเป็นสิ่งต้องห้าม จนมาถึงยุคปัจจุบัน เรื่องราวความรักที่ผิดจารีตประเพณีซึ่งหาได้ยากยิ่ง ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นทั้งเพชรยอดมงกุฎของวงการหนังจีน และเป็นภาพยนตร์ภาษาจีนเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 1993 นับเป็นความภาคภูมิใจของผู้กำกับชื่อก้อง เฉินข่ายเก๋อ
อันดับ 2 รอวันรัก…3 หัวใจ (小城之春หรือ Spring in a Small Town)
ผลงานเรื่องล่าสุดของ เถียนจวงจวง และทีมผู้สร้างเสือซุ่ม มังกรซ่อน กำกับโดย เฟ่ยมู่ เข้าฉายในปี 1984 อิงจากเรื่องราวของหลี่เทียนจี้ ถ่ายทอดความรักสามเส้า บอกเล่าความสับสนในมิตรภาพระหว่างเพื่อน การโหยหาคนรักที่ใฝ่ฝัน และบทบาทหน้าที่ทางสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงที่กำลังเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ณ เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่ง แม้ว่าจะปราศจากโครงเรื่องที่ซับซ้อน แต่ก็ได้รับการชื่นชมว่าตัวละครสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกในสถานการณ์ที่เปราะบางออกมาได้เป็นอย่างดี และถูกยกย่องเป็นหนังภาษากวีรุ่นบุกเบิก
ภาพยนตร์ได้รับรางวัลทั้งในและต่างประเทศ เช่น ได้รับยกย่องว่าเป็นหนังอมตะตลอดกาล จากคณะกรรมการภาพยนตร์จีน ได้รับยกย่องว่าเป็นหนังจีนที่ดีที่สุดที่เคยสร้างมา จากสมาคมจัดอันดับภาพยนตร์ฮ่องกง ในปี 2005 ถูกจัดเป็น 1 ใน 10 สุดยอดหนังจีนจากหนังสือพิมพ์แคนนาดา Winnipeg Free Press ในปี 2012 หรือแม้แต่ผู้กำกับชื่อก้อง จางอี้โหมวก็ยังกล่าวว่าเป็นหนังที่เค้าชื่อชอบที่สุด
อันดับ 1 แม่น้ำฤดูใบไม้ผลิไหลสู่ทิศตะวันออก (江春水向东流หรือ A Spring River Flows East)
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างในปี 1947 เขียนบทและกำกับโดยไช่ฉู่เซิง และเจิ้งจุนลี่เรื่องราวยาวกว่า 3 ชั่วโมงถูกแบ่งเป็นสองตอน คือ พรัดจากแปดปี (八年离乱) กับวันฟ้าสว่าง (天亮前后) กล่าวถึงเรื่องราวของหวางซู่เฟิน พนักงานโรงงานทอผ้าพบรักกับอาจารย์หนุ่มจางจงเหลียง ซึ่งสอนอยู่ที่การศึกษานอกโรงเรียน ทั้งคู่ตกลงใจแต่งงานกัน ทว่า เหตุการณ์ต่อต้านญี่ปุ่น 813 ทำให้ครอบครัวแตกกระสานซ่านเซน จางจงเหลียงต้องไปช่วยผู้บาดเจ็บที่เซี่ยงไฮ้ ส่วนหวางซู่เฟินพาลูกชายและแม่สะใภ้กลับบ้านนอก พ่อสะใภ้ถูกทหารญี่ปุ่นทารุณกรรมจนเสียชีวิต หวางซู่เฟินจึงตัดสินใจพาแม่สะใภ้กลับเซี่ยงไฮ้เพื่อรอคอยการกลับมาพร้อมหน้ากันอีกครั้ง แม้จะต้องอยู่อย่างรันทดเพียงใดก็ตาม ในขณะที่พระเอกซึ่งถูกทหารญี่ปุ่นขับไล่ไปอยู่ฉงชิ่ง ด้วยสภาพแวดล้อมที่ยั่วยวน ตกเป็นสามีจำแลงของหวางลี่เจิน ลูกสาวโรงงานส่งออก ต่อมาจางจงเหลียงย้ายไปประจำที่สำนักพิมพ์พี่เขยของหวางลี่เจิน พบกับหวางซู่เฟินที่มาเป็นพนักงานรับใช้ที่บังเอิญ แต่เพราะความโลภในสมบัติจึงไม่ยอมรับในสถานะและกลบมาใช้ชีวิตครอบครัวเหมือนกัน ทำให้หวางซุ่เฟินเศร้าโศรกเสียใจจนปลิดชีวิตลงที่แม่น้ำแยงซี
ด้วยศิลปะในการผสมผสานเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กับการถ่ายทอดโศกนาฏกรรมจากชีวิตจริง ผ่านการพรักพรากที่ปวดร้าวและกระแสคอรัปชั่นขายชาติในช่วงสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ณ เมืองเซี่องไฮ้ในยุคทศวรรษ 30 และ 40 ทำให้ภาพยนตร์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและฉายอยู่นานกว่า 3 เดือนทันทีที่ออกฉาย ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ กล่าวกันว่ามีผู้ชมมากว่า 700,000 คน และ เป็น 15 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเมือง
ประวัติหลี่เหลียนเจี๋ย พระเอกนักบู๊มาดเข้ม สุดโหด!
หลี่เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน โดยเป็นลูกคนสุดท้องในพี่น้องทั้งหมด 5 คน เนื่องจากตัวของหลี่ต้องกำพร้าพ่อตั้งแต่อายุเพียง 2 ขวบ เขาจึงถูกเลี้ยงดูโดยแม่มาตลอด
เมื่อหลี่อายุได้ 8 ขวบ เขาก็ได้รับการฝึกฝนวิชาวูซู ในช่วงเวลาปิดเทอมหน้าร้อน จากนั้นหลี่ก็อุทิศชีวิตตลอดทั้งชีวิตให้กับกีฬาวูซู จนเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น หลี่ก็เป็นตัวแทนนักกีฬาวูซูของจีนไปแข่งขันต่างๆมากมาย จนได้เป็นแชมป์ถึง 5 ปีซ้อน และหลี่กับทีมของเขาเคยไปแสดงความสามารถทางวูซูต่อหน้าประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ในปี 1974 จากนั้นหลี่ก็ผันตัวเองไปเป็นโค้ชทีมกีฬาวูซูแทนการเป็นนักกีฬา
ในต้นปี 2010 หลี่เปิดเผยว่า จะรับงานแสดงน้อยลง เพื่อที่จะไปทุ่มเทให้กับการทำมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ ชื่อ The One Foundation หลังจากที่เจ้าตัวรอดตายมาจากเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศไทยเมื่อปลายปี 2004 โดยบอกว่าตนพบว่าศิลปะการต่อสู้มิได้ช่วยอะไรให้รอดชีวิตได้เลยเมื่อต้องต่อสู้กับธรรมชาติ และการแสดงต่อไปนี้เป็นเพียงงานอดิเรกเท่านั้น
ก้าวแรกของการเป็นดารา
หลังจากหลี่เป็นโค้ชทีมชาติมานานหลายปี เมื่อเขาอายุได้ 20 ปี เขาก็ถูกแมวมองดึงให้มาเป็นพระเอกหนังเรื่อง Shaolin Temple (1982) โดยหนังเรื่องนี้เป็นงานแจ้งเกิดให้เขาอย่างเต็มตัว แต่ภาคต่อของหนังชุดนี้คือ Shaolin Temple 2 : Kids from Shaolin (1984) และ Martial Arts of Shaolin (1986) กลับไม่ประสบความสำเร็จเลย จากนั้นหลี่ก็กำกับหนังของตนเองเป็นครั้งแรกกับเรื่อง Born to Defence (1988) แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จอีก พ.ศ. 2553 นิตยสาร TIME จัดให้ Jetli เป็น 1 ใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก ประจำปี 2010
ภาพยนตร์ฮ่องกง
เมื่อหลี่ย้ายเข้ามาอยู่ในฮ่องกง เขาก็ได้ร่วมงานกับผู้กำกับชื่อดังของฮ่องกงอย่าง ฉีเคอะ (Tsui Hark) โดยผลงานเรื่องแรกที่ทั้งสองได้ร่วมงานกัน คือ Once Upon a Time in China (1991) โดยหนังประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งในเอเชียและต่างประเทศ ส่งผลให้ชื่อของหลี่ เหลียนเจี๋ยเป็นที่รู้จักในวงกว้างอีกครั้ง หลังจากนั้นทั้งคู่ก็ร่วมงานกันมาเรื่อย เช่น Swordsman II (1992) The Master (1992) Once Upon a Time in China II (1992) Once Upon a Time in China III (1993) Black Mask (1996) และ Once Upon a Time in China and America (1997) เป็นเรื่องสุดท้าย
หลี่ได้ชื่อว่าร่วมงานกับผู้กำกับคิวบู๊ชื่อดังหลายคน เช่น
หยวนหวูปิง (Yuen Woo-Ping) : Once Upon a Time in China II (1992) The Tai-Chi Master (1993) Last Hero in China (1993) และงานรีเมคของ บรู๊ซ ลี Fist of Legend (1994)
เฉิงเสี่ยวตง (Tony Ching) : Swordsman II (1992) และ Dr. Wai in the “The Scripture with no Words” (1996)
หยวนขุย (Corey Yuen) : Fong Sai-Yuk (1993) , Fong Sai-Yuk II (1993) , The New Legend of Shaolin (1994) , The Bodyguard from Beijing (1994) , My Father is a Hero (1995) และ High Risk (1995)
หงจินเป่า (Sammo Hung) : Kung-Fu Cult Master (1993) และ Once Upon a Time in China and America (1997)
ฮอลลีวู้ด
Lethal Weapon 4 (1998)
หลี่มีผลงานในฮอลลีวู้ดครั้งแรกคือ Lethal Weapon 4 (1998) หนังแอ็คชั่นตำรวจภาคต่อ โดยร่วมแสดงกับเมล กิ๊บสัน, แดนนี่ โกลเวอร์, โจ เปสซี่, เรเน่ รุสโซ่ และ คริส ร็อก โดยตัวของหลี่รับบทเป็นตัวร้าย นับว่าเป็นการพลิกบทบาทจากพระเอกหนังกังฟู มาเป็นผู้ร้าย หลังจากเรื่องนี้ออกฉาย ทำให้ชื่อ เจ็ต ลี (Jet Li) ซึ่งเป็นชื่อภาษาอังกฤษของหลี่ กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
หลังจากนั้นปี 2000 หลี่รับบทนำครั้งแรกในเรื่อง Romeo Must Die (2000) นับว่าเป็นหนังภาษาอังกฤษเรื่องแรกของหลี่ด้วย หลังจากออกฉาย ก็สามารถทำรายได้ในบ็อกซ์ออฟฟิสสหรัฐอเมริกา นานหลายสัปดาห์ติดต่อกัน
ปี 2001 หลี่มีผลงานถึง 2 เรื่อง คือ Kiss of the Dragon (2001) โดยเป็นการร่วมงานกันระหว่างเขากับลุค เบซอง ร่วมแสดงกับ บริดเจต ฟอนดา และ เชกี คาร์โย ซึ่งหลี่ยังรับหน้าที่อำนวยการสร้างและคิดโครงเรื่องนี้ด้วย และหนังแอ็คชั่น - ไซไฟ เรื่อง The One (2001) อีกทั้งหลี่ยังร่วมกับบริษัทหนังอย่าง Icon Production สร้างภาพยนตร์โทรทัศน์ (Pilot) แนวกำลังภายในเรื่อง Invincible (2001) ความยาว 90 นาที ออกฉายเมื่อปี 2001 ว่าด้วยเรื่องราวของกลุ่มคนที่มีวิชาการต่อสู้หลายคนมารวมตัวกัน เพื่อทำภารกิจยับยั้งกลุ่มคนที่หวังจะทำลายโลก
ปี 2003 หลี่รับบทนำร่วมกับนักร้องแร็พเปอร์ ดีเอ็มเอ๊กซ์ ใน Cradle 2 the Grave (2003) โดยหลี่กลับมาร่วมงานอีกครั้งกับผู้อำนวยการสร้าง โจเอล ซิลเวอร์ และผู้กำกับ แอนเดรจ บาร์ตโกเวียก จาก Romeo Must Die โดยหลี่รับบทเป็นนักสืบชาวไต้หวัน ที่ต้องร่วมมือกับนักโจรกรรมเพชร เพื่อตามหาอัญมณีสีดำ โดยในเรื่องนี้หลี่ต้องรับมือกับนักแสดงคิกบ๊อกซิ่งอย่าง มาร์ค ดาคาสคอส เป็นครั้งแรก และสามารถทำเงินขึ้นอันดับหนึ่งบ็อกซ์ออฟฟิสในสัปดาห์แรกของการฉาย
ปี 2005 หลี่ได้ร่วมงานกับ ลุค เบซอง อีกครั้งใน Danny the Dog (หรืออีกชื่อ Unleashed) (2005) และหลี่ยังร่วมแสดงกับ มอร์แกน ฟรีแมน, บ็อบ ฮอสกินส์ และ เคอร์รี่ คอนด็อน ซึ่งได้รับการตอบรับกลุ่มแฟนหนังในอเมริกาเป็นอย่างดี ด้วยรายได้เปิดตัวที่ดีพอสมควร
ปี 2007 เจ็ทลีกลับมาร่วมงานกับ เจสัน สเตแธม อีกครั้งใน War (หรืออีกชื่อ Rogue Assassin) (2007) ภาพยนตร์แอ็คชั่น - ระทึกขวัญ ซึ่งก็ยังได้รับผลตอบรับดีพอสมควรในอเมริกา
ปี 2008 หลี่มีผลงานถึง 2 เรื่อง แต่ผลงานที่น่าสนใจตั้งแต่วางแผนการสร้าง คือ The Forbidden Kingdom ด้วยทุนสร้าง 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่หลี่ร่วมแสดงกับนักแสดงกังฟูชื่อดังอย่าง เฉินหลง เป็นครั้งแรก หลังจากวางแผนจะร่วมงานกันมานานกว่าหลายปี และพึ่งได้มาเจอกันในเรื่องนี้ โดยเนื้อหาอิงจากนิยายเรื่อง ไซอิ๋ว มาบางส่วนและเป็นผลงานกำกับของ ร็อบ มินคอฟ (The Lion King, Stuart Little และ The Haunted Mansion) โดยได้ทีมงานอย่าง ปีเตอร์ เปา (ผู้กำกับภาพ) , หยวนวูปิง (ผู้ออกแบบฉากการต่อสู้) และนักแสดงอย่าง หลิวอี้เฟย, หลี่ บิง บิง, คอลลิน โชว และ ไมเคิล แองการาโน และอีกเรื่องคือภาคต่อของหนังชุด The Mummy ในตอนใหม่ล่าสุดที่ชื่อว่า The Mummy: Tomb of the Dragon Emperor (2008) โดยร่วมแสดงกับนักแสดงชาวฮ่องกง เช่น หยาง จื่อฉยง และ หวง ชิวเซิน พร้อมกับนักแสดงหลักอย่าง เบรนแดน เฟรเซอร์, มาเรีย เบลโล และ จอห์น ฮันนาห์
และอีก 2 ปีถัดมา หลี่ก็ร่วมแสดงนำในหนังแอ็คชั่นรวมดาราเรื่อง The Expendables (2010) โดยประกบคู่กับนักแสดงอย่าง ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน, เจสัน สเตธัม, ดอล์ฟ ลุนด์เกรน, มิกกีย์ รูร์ก, สตีฟ 'สโตน โคล' ออสติน, แรนดี้ เคาท์เชอร์, บรูซ วิลลิส และ อาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์
ภาพยนตร์กำลังภายใน
หลี่กลับมาท็อปฟอร์มอีกครั้งในเรื่อง Hero (2002) หนังจีนทุนสร้าง 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยรัฐบาลของจีน กำกับโดยจางอี้โหมว นำแสดงโดยดาราชื่อดังหลายคน อย่าง เหลียง เฉาเหว่ย, จาง ม่านอวี้, เฉิน เตาหมิง, จาง จื่ออี๋ และ เจิน จื่อตัน โดยเฉพาะเจิน จื่อตัน ถือว่าเป็นการกลับมาร่วมงานกับหลี่อีกครั้ง หลังจากเคยประมือกันมาแล้วใน Once Upon a Time in China II (1992) Hero ทำรายได้ทั่วโลกถึง 177.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากนั้นหลี่ก็กลับมาแสดงหนังกำลังภายในเรื่องเยี่ยมอย่าง Fearless (2006) โดยเรื่องนี้หลี่เป็นทั้งนักแสดงและอำนวยการสร้าง โดยการกำกับเป็นของ รอนนี่ ยู (Ronny Yu) ทุนสร้าง 19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ว่าด้วยเรื่องราวของฮั่วหยวนเจี๋ย ปรมจารย์กังฟูผู้ต่อสู้กับจิตใจของตน ตั้งแต่เกิดจนถึงนาทีสุดท้ายของชีวิต โดยคำโฆษณาที่ใช้ในการโปรโมตหนังเรื่องนี้บอกว่า เป็นหนังกำลังภายในเรื่องสุดท้ายของเขา ทำให้คนทั่วโลกสนใจหนังเรื่องนี้มากขึ้น โดยสามารถขึ้นอันดับหนึ่งในตารางหนังทำเงินทั่วเอเชีย และยังสามารถทำรายได้ไปพอสมควรในสหรัฐอเมริกา และมีดาราภาพยนตร์ชาวไทยที่มีโอกาสร่วมแสดงกับหลี่ คือ สมรักษ์ คำสิงห์ (นักมวยสากลเหรียญทองโอลิมปิก) ในภาพยนตร์ชุดดังกล่าว
ปี 2007 หลี่ได้มีส่วนร่วมในหนังมหากาพย์สงครามย้อนยุคเรื่อง The Warlords (2007) งานรีเมคเรื่อง Blood Brothers (1973) ของ จางเชอะ ผลงานการกำกับของ ปีเตอร์ ชาน และร่วมแสดงกับ หลิว เต๋อหัว และ ทาเคชิ คาเนชิโร ทุนสร้าง 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้เป็นหนังกำลังภายในอย่างที่เข้าใจกัน และเป็นอีกครั้งที่หลี่ต้องรับบทเป็นตัวร้ายในตอนท้ายเรื่องของหนัง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั่วเอเชีย เพราะสามารถเปิดตัวขึ้นอันดับหนึ่งทั้งในจีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยตัวหลี่เองได้รับค่าตัวสูงสุดในบรรดาหนังภาษาจีน ด้วยค่าตัวถึง 100 ล้านหยวน หรือ 13.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และล่าสุดก็พึ่งคว้ารางวัลม้าทองคำ (ตุ๊กตาทองฮ่องกง) ครั้งที่ 27 โดยคว้ามาได้ 8 รางวัล รวมถึงรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
หลี่ร่วมแสดงในหนังรวมดาราจีนเรื่อง The Founding of a Republic (2009) และรับบทนำในหนังดราม่าเรื่อง Ocean Heaven (2010) ทุนสร้าง 7 ล้านหยวน โดยรับบทเป็นพนักงานในสวนน้ำแห่งหนึ่ง ที่มีลูกชายป่วยเป็นโรคออทิสติก ซึ่งถือเป็นงานแสดงดราม่าเต็มตัวครั้งแรก โดยที่ไม่มีฉากแอ็คชั่นในหนังสักฉากเดียว
เกม
Rise to Honor VG (2004)
บุคลิกของหลี่ได้ถูกนำไปเป็นตัวละครในเกมมาแล้ว โดยเกมนี้มีชื่อว่า Rise to Honor ผลิตโดย Sony Computer Entertainment America โดยเรื่องราวในเกมอ้างอิงเนื้อเรื่องในหนังแอ๊คชั่นของหลี่ และหลี่ยังเป็นผู้ให้เสียงกับตัวละครของเขาในเกม และได้หยวน ขุย (Corey Yuen) ผู้กำกับคิวบู๊คู่หูมาทำหน้าที่ออกแบบท่าทางต่อสู้ในเกมอีกด้วย วางจำหน่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2004 และในแถบยุโรปเดือนเมษายน 2004 จำหน่ายในรูปแบบเพลย์สเตชัน 2 เท่านั้น
ผลงานภาพยนตร์
Shaolin Temple (1982) : เสี่ยวลิ้มยี่
Shaolin Temple 2: Kids from Shaolin (1984) : เสี่ยวลิ้มยี่ 2
Martial Arts of Shaolin (1986) : มังกรน่ำปั๊ก
Born to Defence (1988) : หวด ปั๊ก คั๊ก [ร่วมกำกับภาพยนตร์]
Dragon Fight (1989) : มังกรกระแทกเมือง
Once Upon a Time in China (1991) : หวงเฟยหง : หมัดบินทะลุเหล็ก
Swordsman II (1992) : เดชคัมภีร์เทวดา 2
The Master (1992) : ฟัดทะลุโลก
Once Upon a Time in China II (1992) : หวงเฟยหง : ถล่มวังบัวขาว
The Tai-Chi Master (1993) : มังกรไท้เก็ก คนไม่ยอมคน [ร่วมอำนวยการสร้าง]
Fong Sai-Yuk (1993) : ฟงไสหยก : สู้บนหัวคน [ร่วมอำนวยการสร้าง]
Fong Sai-Yuk II (1993) : ปึงซีเง็ก : ปิดตาสู้ [ร่วมอำนวยการสร้าง]
Once Upon a Time in China III (1993) : หวงเฟยหง 3 ถล่มสิงโตคำราม
Kung-Fu Cult Master (1993) : ดาบมังกรหยก
Last Hero in China (1993) : เล็บเหล็กหวงเฟยหง [ร่วมอำนวยการสร้าง]
The New Legend of Shaolin (1994) : 5 พยัคฆ์ เสี้ยวลิ้มยี่ [ร่วมอำนวยการสร้าง]
The Bodyguard from Beijing (1994) : บอดี้การ์ด ขอบอกว่าเธอเจ็บไม่ได้ [ร่วมอำนวยการสร้าง]
Fist of Legend (1994) : ไอ้หนุ่มซินตึ้ง หัวใจผงาดฟ้า [ร่วมอำนวยการสร้าง]
My Father is a Hero (1995) : ต้องใหญ่ให้โลกตะลึง (ครั้งนี้...หัวใจใครก็เจ็บไม่ได้)
High Risk (1995) : ตายยาก เพราะเธอเจ็บไม่ได้
Dr. Wai in the “The Scripture with no Words” (1996) : ดร.ไว คนใหญ่สุดขอบฟ้าเกียงมีมีเกียงเกียงใหญ่ไปเกียง
Black Mask (1996) : ดำมหากาฬ
Once Upon a Time in China and America (1997) : หวงเฟยหง พิชิตตะวันตก
Hitman (1998) : ลงขันฆ่า ปราณีอยู่ที่ศูนย์
Lethal Weapon 4 (1998) : ริกส์ คนมหากาฬ 4
Romeo Must Die (2000) : ศึกแก็งค์มังกรผ่าโลก
Kiss of the Dragon (2001) : จูบอหังการ ล่าข้ามโลก [ร่วมอำนวยการสร้าง/คิดโครงเรื่อง]
The One (2001) : เดี่ยวมหาประลัย
Hero (2002) : ฮีโร่
Cradle 2 the Grave (2003) : คู่อริ ถล่มยกเมือง
Danny the Dog (หรืออีกชื่อ Unleashed) (2005) : คนหมาเดือด [ร่วมอำนวยการสร้าง]
Fearless (2006) : จอมคนผงาดโลก [ร่วมอำนวยการสร้าง]
War (หรืออีกชื่อ Rogue Assassin) (2007) : โหด ปะทะ เดือด
The Warlords (2007) : 3 อหังการ์ เจ้าสุริยา
The Forbidden Kingdom (2008) : หนึ่งฟัดหนึ่ง ใหญ่ต่อใหญ่
The Mummy: Tomb of the Dragon Emperor (2008) : เดอะมัมมี่ 3 : คืนชีพจักรพรรดิมังกร
The Founding of a Republic (2009) : มังกรสร้างชาติ
Ocean Heaven (2010)
The Expendables (2010) : โคตรคนทีมมหากาฬ
The Sorcerer and the White Snake (2011) : ตำนานเดชนางพญางูขาว
The Flying Swords of Dragon Gate (2011) : พยัคฆ์ตะลุยพยัคฆ์
The Expendables 2 (2012) : โคตรคน ทีมเอ็กซ์เพนเดเบิ้ล Badges of Fury
Badges of Fury
เมื่อหลี่อายุได้ 8 ขวบ เขาก็ได้รับการฝึกฝนวิชาวูซู ในช่วงเวลาปิดเทอมหน้าร้อน จากนั้นหลี่ก็อุทิศชีวิตตลอดทั้งชีวิตให้กับกีฬาวูซู จนเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น หลี่ก็เป็นตัวแทนนักกีฬาวูซูของจีนไปแข่งขันต่างๆมากมาย จนได้เป็นแชมป์ถึง 5 ปีซ้อน และหลี่กับทีมของเขาเคยไปแสดงความสามารถทางวูซูต่อหน้าประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ในปี 1974 จากนั้นหลี่ก็ผันตัวเองไปเป็นโค้ชทีมกีฬาวูซูแทนการเป็นนักกีฬา
ในต้นปี 2010 หลี่เปิดเผยว่า จะรับงานแสดงน้อยลง เพื่อที่จะไปทุ่มเทให้กับการทำมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ ชื่อ The One Foundation หลังจากที่เจ้าตัวรอดตายมาจากเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศไทยเมื่อปลายปี 2004 โดยบอกว่าตนพบว่าศิลปะการต่อสู้มิได้ช่วยอะไรให้รอดชีวิตได้เลยเมื่อต้องต่อสู้กับธรรมชาติ และการแสดงต่อไปนี้เป็นเพียงงานอดิเรกเท่านั้น
ก้าวแรกของการเป็นดารา
หลังจากหลี่เป็นโค้ชทีมชาติมานานหลายปี เมื่อเขาอายุได้ 20 ปี เขาก็ถูกแมวมองดึงให้มาเป็นพระเอกหนังเรื่อง Shaolin Temple (1982) โดยหนังเรื่องนี้เป็นงานแจ้งเกิดให้เขาอย่างเต็มตัว แต่ภาคต่อของหนังชุดนี้คือ Shaolin Temple 2 : Kids from Shaolin (1984) และ Martial Arts of Shaolin (1986) กลับไม่ประสบความสำเร็จเลย จากนั้นหลี่ก็กำกับหนังของตนเองเป็นครั้งแรกกับเรื่อง Born to Defence (1988) แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จอีก พ.ศ. 2553 นิตยสาร TIME จัดให้ Jetli เป็น 1 ใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก ประจำปี 2010
ภาพยนตร์ฮ่องกง
เมื่อหลี่ย้ายเข้ามาอยู่ในฮ่องกง เขาก็ได้ร่วมงานกับผู้กำกับชื่อดังของฮ่องกงอย่าง ฉีเคอะ (Tsui Hark) โดยผลงานเรื่องแรกที่ทั้งสองได้ร่วมงานกัน คือ Once Upon a Time in China (1991) โดยหนังประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งในเอเชียและต่างประเทศ ส่งผลให้ชื่อของหลี่ เหลียนเจี๋ยเป็นที่รู้จักในวงกว้างอีกครั้ง หลังจากนั้นทั้งคู่ก็ร่วมงานกันมาเรื่อย เช่น Swordsman II (1992) The Master (1992) Once Upon a Time in China II (1992) Once Upon a Time in China III (1993) Black Mask (1996) และ Once Upon a Time in China and America (1997) เป็นเรื่องสุดท้าย
หลี่ได้ชื่อว่าร่วมงานกับผู้กำกับคิวบู๊ชื่อดังหลายคน เช่น
หยวนหวูปิง (Yuen Woo-Ping) : Once Upon a Time in China II (1992) The Tai-Chi Master (1993) Last Hero in China (1993) และงานรีเมคของ บรู๊ซ ลี Fist of Legend (1994)
เฉิงเสี่ยวตง (Tony Ching) : Swordsman II (1992) และ Dr. Wai in the “The Scripture with no Words” (1996)
หยวนขุย (Corey Yuen) : Fong Sai-Yuk (1993) , Fong Sai-Yuk II (1993) , The New Legend of Shaolin (1994) , The Bodyguard from Beijing (1994) , My Father is a Hero (1995) และ High Risk (1995)
หงจินเป่า (Sammo Hung) : Kung-Fu Cult Master (1993) และ Once Upon a Time in China and America (1997)
ฮอลลีวู้ด
Lethal Weapon 4 (1998)
หลี่มีผลงานในฮอลลีวู้ดครั้งแรกคือ Lethal Weapon 4 (1998) หนังแอ็คชั่นตำรวจภาคต่อ โดยร่วมแสดงกับเมล กิ๊บสัน, แดนนี่ โกลเวอร์, โจ เปสซี่, เรเน่ รุสโซ่ และ คริส ร็อก โดยตัวของหลี่รับบทเป็นตัวร้าย นับว่าเป็นการพลิกบทบาทจากพระเอกหนังกังฟู มาเป็นผู้ร้าย หลังจากเรื่องนี้ออกฉาย ทำให้ชื่อ เจ็ต ลี (Jet Li) ซึ่งเป็นชื่อภาษาอังกฤษของหลี่ กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
หลังจากนั้นปี 2000 หลี่รับบทนำครั้งแรกในเรื่อง Romeo Must Die (2000) นับว่าเป็นหนังภาษาอังกฤษเรื่องแรกของหลี่ด้วย หลังจากออกฉาย ก็สามารถทำรายได้ในบ็อกซ์ออฟฟิสสหรัฐอเมริกา นานหลายสัปดาห์ติดต่อกัน
ปี 2001 หลี่มีผลงานถึง 2 เรื่อง คือ Kiss of the Dragon (2001) โดยเป็นการร่วมงานกันระหว่างเขากับลุค เบซอง ร่วมแสดงกับ บริดเจต ฟอนดา และ เชกี คาร์โย ซึ่งหลี่ยังรับหน้าที่อำนวยการสร้างและคิดโครงเรื่องนี้ด้วย และหนังแอ็คชั่น - ไซไฟ เรื่อง The One (2001) อีกทั้งหลี่ยังร่วมกับบริษัทหนังอย่าง Icon Production สร้างภาพยนตร์โทรทัศน์ (Pilot) แนวกำลังภายในเรื่อง Invincible (2001) ความยาว 90 นาที ออกฉายเมื่อปี 2001 ว่าด้วยเรื่องราวของกลุ่มคนที่มีวิชาการต่อสู้หลายคนมารวมตัวกัน เพื่อทำภารกิจยับยั้งกลุ่มคนที่หวังจะทำลายโลก
ปี 2003 หลี่รับบทนำร่วมกับนักร้องแร็พเปอร์ ดีเอ็มเอ๊กซ์ ใน Cradle 2 the Grave (2003) โดยหลี่กลับมาร่วมงานอีกครั้งกับผู้อำนวยการสร้าง โจเอล ซิลเวอร์ และผู้กำกับ แอนเดรจ บาร์ตโกเวียก จาก Romeo Must Die โดยหลี่รับบทเป็นนักสืบชาวไต้หวัน ที่ต้องร่วมมือกับนักโจรกรรมเพชร เพื่อตามหาอัญมณีสีดำ โดยในเรื่องนี้หลี่ต้องรับมือกับนักแสดงคิกบ๊อกซิ่งอย่าง มาร์ค ดาคาสคอส เป็นครั้งแรก และสามารถทำเงินขึ้นอันดับหนึ่งบ็อกซ์ออฟฟิสในสัปดาห์แรกของการฉาย
ปี 2005 หลี่ได้ร่วมงานกับ ลุค เบซอง อีกครั้งใน Danny the Dog (หรืออีกชื่อ Unleashed) (2005) และหลี่ยังร่วมแสดงกับ มอร์แกน ฟรีแมน, บ็อบ ฮอสกินส์ และ เคอร์รี่ คอนด็อน ซึ่งได้รับการตอบรับกลุ่มแฟนหนังในอเมริกาเป็นอย่างดี ด้วยรายได้เปิดตัวที่ดีพอสมควร
ปี 2007 เจ็ทลีกลับมาร่วมงานกับ เจสัน สเตแธม อีกครั้งใน War (หรืออีกชื่อ Rogue Assassin) (2007) ภาพยนตร์แอ็คชั่น - ระทึกขวัญ ซึ่งก็ยังได้รับผลตอบรับดีพอสมควรในอเมริกา
ปี 2008 หลี่มีผลงานถึง 2 เรื่อง แต่ผลงานที่น่าสนใจตั้งแต่วางแผนการสร้าง คือ The Forbidden Kingdom ด้วยทุนสร้าง 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่หลี่ร่วมแสดงกับนักแสดงกังฟูชื่อดังอย่าง เฉินหลง เป็นครั้งแรก หลังจากวางแผนจะร่วมงานกันมานานกว่าหลายปี และพึ่งได้มาเจอกันในเรื่องนี้ โดยเนื้อหาอิงจากนิยายเรื่อง ไซอิ๋ว มาบางส่วนและเป็นผลงานกำกับของ ร็อบ มินคอฟ (The Lion King, Stuart Little และ The Haunted Mansion) โดยได้ทีมงานอย่าง ปีเตอร์ เปา (ผู้กำกับภาพ) , หยวนวูปิง (ผู้ออกแบบฉากการต่อสู้) และนักแสดงอย่าง หลิวอี้เฟย, หลี่ บิง บิง, คอลลิน โชว และ ไมเคิล แองการาโน และอีกเรื่องคือภาคต่อของหนังชุด The Mummy ในตอนใหม่ล่าสุดที่ชื่อว่า The Mummy: Tomb of the Dragon Emperor (2008) โดยร่วมแสดงกับนักแสดงชาวฮ่องกง เช่น หยาง จื่อฉยง และ หวง ชิวเซิน พร้อมกับนักแสดงหลักอย่าง เบรนแดน เฟรเซอร์, มาเรีย เบลโล และ จอห์น ฮันนาห์
และอีก 2 ปีถัดมา หลี่ก็ร่วมแสดงนำในหนังแอ็คชั่นรวมดาราเรื่อง The Expendables (2010) โดยประกบคู่กับนักแสดงอย่าง ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน, เจสัน สเตธัม, ดอล์ฟ ลุนด์เกรน, มิกกีย์ รูร์ก, สตีฟ 'สโตน โคล' ออสติน, แรนดี้ เคาท์เชอร์, บรูซ วิลลิส และ อาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์
ภาพยนตร์กำลังภายใน
หลี่กลับมาท็อปฟอร์มอีกครั้งในเรื่อง Hero (2002) หนังจีนทุนสร้าง 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยรัฐบาลของจีน กำกับโดยจางอี้โหมว นำแสดงโดยดาราชื่อดังหลายคน อย่าง เหลียง เฉาเหว่ย, จาง ม่านอวี้, เฉิน เตาหมิง, จาง จื่ออี๋ และ เจิน จื่อตัน โดยเฉพาะเจิน จื่อตัน ถือว่าเป็นการกลับมาร่วมงานกับหลี่อีกครั้ง หลังจากเคยประมือกันมาแล้วใน Once Upon a Time in China II (1992) Hero ทำรายได้ทั่วโลกถึง 177.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากนั้นหลี่ก็กลับมาแสดงหนังกำลังภายในเรื่องเยี่ยมอย่าง Fearless (2006) โดยเรื่องนี้หลี่เป็นทั้งนักแสดงและอำนวยการสร้าง โดยการกำกับเป็นของ รอนนี่ ยู (Ronny Yu) ทุนสร้าง 19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ว่าด้วยเรื่องราวของฮั่วหยวนเจี๋ย ปรมจารย์กังฟูผู้ต่อสู้กับจิตใจของตน ตั้งแต่เกิดจนถึงนาทีสุดท้ายของชีวิต โดยคำโฆษณาที่ใช้ในการโปรโมตหนังเรื่องนี้บอกว่า เป็นหนังกำลังภายในเรื่องสุดท้ายของเขา ทำให้คนทั่วโลกสนใจหนังเรื่องนี้มากขึ้น โดยสามารถขึ้นอันดับหนึ่งในตารางหนังทำเงินทั่วเอเชีย และยังสามารถทำรายได้ไปพอสมควรในสหรัฐอเมริกา และมีดาราภาพยนตร์ชาวไทยที่มีโอกาสร่วมแสดงกับหลี่ คือ สมรักษ์ คำสิงห์ (นักมวยสากลเหรียญทองโอลิมปิก) ในภาพยนตร์ชุดดังกล่าว
ปี 2007 หลี่ได้มีส่วนร่วมในหนังมหากาพย์สงครามย้อนยุคเรื่อง The Warlords (2007) งานรีเมคเรื่อง Blood Brothers (1973) ของ จางเชอะ ผลงานการกำกับของ ปีเตอร์ ชาน และร่วมแสดงกับ หลิว เต๋อหัว และ ทาเคชิ คาเนชิโร ทุนสร้าง 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้เป็นหนังกำลังภายในอย่างที่เข้าใจกัน และเป็นอีกครั้งที่หลี่ต้องรับบทเป็นตัวร้ายในตอนท้ายเรื่องของหนัง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั่วเอเชีย เพราะสามารถเปิดตัวขึ้นอันดับหนึ่งทั้งในจีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยตัวหลี่เองได้รับค่าตัวสูงสุดในบรรดาหนังภาษาจีน ด้วยค่าตัวถึง 100 ล้านหยวน หรือ 13.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และล่าสุดก็พึ่งคว้ารางวัลม้าทองคำ (ตุ๊กตาทองฮ่องกง) ครั้งที่ 27 โดยคว้ามาได้ 8 รางวัล รวมถึงรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
หลี่ร่วมแสดงในหนังรวมดาราจีนเรื่อง The Founding of a Republic (2009) และรับบทนำในหนังดราม่าเรื่อง Ocean Heaven (2010) ทุนสร้าง 7 ล้านหยวน โดยรับบทเป็นพนักงานในสวนน้ำแห่งหนึ่ง ที่มีลูกชายป่วยเป็นโรคออทิสติก ซึ่งถือเป็นงานแสดงดราม่าเต็มตัวครั้งแรก โดยที่ไม่มีฉากแอ็คชั่นในหนังสักฉากเดียว
เกม
Rise to Honor VG (2004)
บุคลิกของหลี่ได้ถูกนำไปเป็นตัวละครในเกมมาแล้ว โดยเกมนี้มีชื่อว่า Rise to Honor ผลิตโดย Sony Computer Entertainment America โดยเรื่องราวในเกมอ้างอิงเนื้อเรื่องในหนังแอ๊คชั่นของหลี่ และหลี่ยังเป็นผู้ให้เสียงกับตัวละครของเขาในเกม และได้หยวน ขุย (Corey Yuen) ผู้กำกับคิวบู๊คู่หูมาทำหน้าที่ออกแบบท่าทางต่อสู้ในเกมอีกด้วย วางจำหน่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2004 และในแถบยุโรปเดือนเมษายน 2004 จำหน่ายในรูปแบบเพลย์สเตชัน 2 เท่านั้น
ผลงานภาพยนตร์
Shaolin Temple (1982) : เสี่ยวลิ้มยี่
Shaolin Temple 2: Kids from Shaolin (1984) : เสี่ยวลิ้มยี่ 2
Martial Arts of Shaolin (1986) : มังกรน่ำปั๊ก
Born to Defence (1988) : หวด ปั๊ก คั๊ก [ร่วมกำกับภาพยนตร์]
Dragon Fight (1989) : มังกรกระแทกเมือง
Once Upon a Time in China (1991) : หวงเฟยหง : หมัดบินทะลุเหล็ก
Swordsman II (1992) : เดชคัมภีร์เทวดา 2
The Master (1992) : ฟัดทะลุโลก
Once Upon a Time in China II (1992) : หวงเฟยหง : ถล่มวังบัวขาว
The Tai-Chi Master (1993) : มังกรไท้เก็ก คนไม่ยอมคน [ร่วมอำนวยการสร้าง]
Fong Sai-Yuk (1993) : ฟงไสหยก : สู้บนหัวคน [ร่วมอำนวยการสร้าง]
Fong Sai-Yuk II (1993) : ปึงซีเง็ก : ปิดตาสู้ [ร่วมอำนวยการสร้าง]
Once Upon a Time in China III (1993) : หวงเฟยหง 3 ถล่มสิงโตคำราม
Kung-Fu Cult Master (1993) : ดาบมังกรหยก
Last Hero in China (1993) : เล็บเหล็กหวงเฟยหง [ร่วมอำนวยการสร้าง]
The New Legend of Shaolin (1994) : 5 พยัคฆ์ เสี้ยวลิ้มยี่ [ร่วมอำนวยการสร้าง]
The Bodyguard from Beijing (1994) : บอดี้การ์ด ขอบอกว่าเธอเจ็บไม่ได้ [ร่วมอำนวยการสร้าง]
Fist of Legend (1994) : ไอ้หนุ่มซินตึ้ง หัวใจผงาดฟ้า [ร่วมอำนวยการสร้าง]
My Father is a Hero (1995) : ต้องใหญ่ให้โลกตะลึง (ครั้งนี้...หัวใจใครก็เจ็บไม่ได้)
High Risk (1995) : ตายยาก เพราะเธอเจ็บไม่ได้
Dr. Wai in the “The Scripture with no Words” (1996) : ดร.ไว คนใหญ่สุดขอบฟ้าเกียงมีมีเกียงเกียงใหญ่ไปเกียง
Black Mask (1996) : ดำมหากาฬ
Once Upon a Time in China and America (1997) : หวงเฟยหง พิชิตตะวันตก
Hitman (1998) : ลงขันฆ่า ปราณีอยู่ที่ศูนย์
Lethal Weapon 4 (1998) : ริกส์ คนมหากาฬ 4
Romeo Must Die (2000) : ศึกแก็งค์มังกรผ่าโลก
Kiss of the Dragon (2001) : จูบอหังการ ล่าข้ามโลก [ร่วมอำนวยการสร้าง/คิดโครงเรื่อง]
The One (2001) : เดี่ยวมหาประลัย
Hero (2002) : ฮีโร่
Cradle 2 the Grave (2003) : คู่อริ ถล่มยกเมือง
Danny the Dog (หรืออีกชื่อ Unleashed) (2005) : คนหมาเดือด [ร่วมอำนวยการสร้าง]
Fearless (2006) : จอมคนผงาดโลก [ร่วมอำนวยการสร้าง]
War (หรืออีกชื่อ Rogue Assassin) (2007) : โหด ปะทะ เดือด
The Warlords (2007) : 3 อหังการ์ เจ้าสุริยา
The Forbidden Kingdom (2008) : หนึ่งฟัดหนึ่ง ใหญ่ต่อใหญ่
The Mummy: Tomb of the Dragon Emperor (2008) : เดอะมัมมี่ 3 : คืนชีพจักรพรรดิมังกร
The Founding of a Republic (2009) : มังกรสร้างชาติ
Ocean Heaven (2010)
The Expendables (2010) : โคตรคนทีมมหากาฬ
The Sorcerer and the White Snake (2011) : ตำนานเดชนางพญางูขาว
The Flying Swords of Dragon Gate (2011) : พยัคฆ์ตะลุยพยัคฆ์
The Expendables 2 (2012) : โคตรคน ทีมเอ็กซ์เพนเดเบิ้ล Badges of Fury
Badges of Fury
ประวัติบรู๊ซลี พระเอกนักบู๊ตลอดกาล
บรูซ ลี (อังกฤษ: Bruce Lee) หรือ หลี่ เสี่ยวหลง (จีน: 李小龙; พินอิน: Lǐ Xiǎolóng; 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 — 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1973) เกิดที่ซานฟรานซิสโก เป็นดาราจีนที่โด่งดังในระดับฮอลลีวูด ด้วยความสามารถด้านศิลปะการต่อสู้แบบจีทคุนโด้ เขาสามารถพูดอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และยังเป็นแชมเปี้ยนเต้นชะชะช่า ในปี 1997 นิตยสารเอ็มไพร์ (อังกฤษ) จัดเขาเป็นหนึ่งใน 100 ดารานำตลอดกาล
เนื้อหา
ประวัติ
เขาเริ่มแสดงภาพยนตร์ตั้งแต่ยังเป็นทารกหนึ่งขวบ จากนั้นได้เป็นดาราในหนังฮ่องกงมาตั้งแต่เด็กๆเรื่อยๆมา และเดินทางออกจากอเมริกาไปฮ่องกงเมื่อปี 1958 โดยไม่มีเงินแต่ใช้การสอนเต้นรำแลกทุนการเดินทาง เขาไปเรียนรู้กังฟูกับอาจารย์จีนหลายคนเพิ่มเติม จนกลายเป็นหนุ่มยอดกังฟู และยังเรียนคาราเต้เพิ่มเติม ในสาขา Kenpo Karate จากอาจารย์ญี่ปุ่นในกลางทศวรรษที่ 60
ภาพยนตร์เรื่องแรกของบรูซ ลี ที่ได้ฉายโรงในอเมริกาคือ Xi lu xiang หรือ My Son, Ah Chung (1950) ตอนที่เขายังอายุสิบขวบ จากนั้นลีแสดงภาพยนตร์มาตลอด เขาได้เข้าร่วมเป็นดารารับเชิญในทีวีมาตั้งแต่ปี 1966 รวมถึงเรื่อง The Green Hornet หรือ เพชรฆาตหน้ากากแตน ที่เคยฉายในเมืองไทยสมัยก่อน แต่ภาพยนตร์ที่โด่งดังในอเมริกาคือ Tang shan da xiong หรือ Fists of Fury ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง (หนังปี 1971 ฉายในอเมริกาปี 1972)
ลียังมีอาชีพสอนกังฟูค่าตัวแพงถึง 275 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง และเขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้จีนหลายเล่ม ในปี 1964 เขากับคู่หูเปิดรับนักเรียนกังฟูที่ไม่ใช่เอเชียอย่างเป็นทางการในเมืองโอ๊กแลนด์ หลังจากสองปีก่อนเขาเคยเทรนคนผิวขาวคนแรกเล่นกังฟู และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยในปี 1964 มีสตูดิโอสอนกังฟูไม่จำกัดสีผิวเจ้าอื่นเปิดก่อนเป็นแห่งแรกในโลกที่ไชน่าทาวน์ ในลอสแอนเจลิส
บรูซ ลี เสียชีวิตด้วยโรคลมบ้าหมูชักกะทันหัน เนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพอที่ฮ่องกงปี 1973 ขณะอายุเพียง 32 ปี มีบุตร 2 คน คือ แบรนดอน ลี และ แชนนอน ลี
ถึงบรูซ ลีจะเสียชีวิตแล้วก็ตาม แต่ก็ถือกันว่าลีคิดค้นศิลปะการป้องกันตัวที่มีชื่อว่า "จีทคุนโด้" ซึ่งเป็นหนึ่งในศิลปะการป้องกันตัวที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก
สื่อ
ดูบทความหลักที่ สื่อที่เกี่ยวข้องกับบรูซ ลี
หนังสือ
Chinese Gung-Fu: The Philosophical Art of Self Defense (Bruce Lee's first book) – 1963
Tao of Jeet Kune Do (Published posthumously) – 1973
Bruce Lee's Fighting Method (Published posthumously) – 1978
ภาพยนตร์
ดูบทความหลักที่ รายชื่อภาพยนตร์ของบรูซ ลี
ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง (ค.ศ. 1971) (US title: Fists of Fury)
ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง ล้างแค้น (ค.ศ. 1972) (US title: The Chinese Connection)
ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง บุกกรุงโรม (ค.ศ. 1972) (US titles: Return of the Dragon, Revenge of the Dragon)
ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง มังกรประจัญบาน (ค.ศ. 1973) (US titles: Enter the Dragon)
ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกร (ค.ศ. 1978) (US titles: Game of Death)
โทรทัศน์
The Green Hornet (26 episodes, 1966–1967) .... Kato
Batman (Episodes: "The Spell of Tut" 28 September 1966, "A Piece of the Action" 1 March 1967, "Batman's Satisfaction" 2 March 1967) .... Kato
Ironside (Episode: "Tagged for Murder" 26 October 1967) .... Leon Soo
Blondie (Episode: "Pick on Someone Your Own Size", 1968)
Here Come the Brides (Episode: "Marriage Chinese Style" 9 April 1969) .... Lin
Longstreet (4 episodes, 1971) .... Li Tsung
The Pierre Berton Show (1971) .... Himself
เนื้อหา
ประวัติ
เขาเริ่มแสดงภาพยนตร์ตั้งแต่ยังเป็นทารกหนึ่งขวบ จากนั้นได้เป็นดาราในหนังฮ่องกงมาตั้งแต่เด็กๆเรื่อยๆมา และเดินทางออกจากอเมริกาไปฮ่องกงเมื่อปี 1958 โดยไม่มีเงินแต่ใช้การสอนเต้นรำแลกทุนการเดินทาง เขาไปเรียนรู้กังฟูกับอาจารย์จีนหลายคนเพิ่มเติม จนกลายเป็นหนุ่มยอดกังฟู และยังเรียนคาราเต้เพิ่มเติม ในสาขา Kenpo Karate จากอาจารย์ญี่ปุ่นในกลางทศวรรษที่ 60
ภาพยนตร์เรื่องแรกของบรูซ ลี ที่ได้ฉายโรงในอเมริกาคือ Xi lu xiang หรือ My Son, Ah Chung (1950) ตอนที่เขายังอายุสิบขวบ จากนั้นลีแสดงภาพยนตร์มาตลอด เขาได้เข้าร่วมเป็นดารารับเชิญในทีวีมาตั้งแต่ปี 1966 รวมถึงเรื่อง The Green Hornet หรือ เพชรฆาตหน้ากากแตน ที่เคยฉายในเมืองไทยสมัยก่อน แต่ภาพยนตร์ที่โด่งดังในอเมริกาคือ Tang shan da xiong หรือ Fists of Fury ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง (หนังปี 1971 ฉายในอเมริกาปี 1972)
ลียังมีอาชีพสอนกังฟูค่าตัวแพงถึง 275 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง และเขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้จีนหลายเล่ม ในปี 1964 เขากับคู่หูเปิดรับนักเรียนกังฟูที่ไม่ใช่เอเชียอย่างเป็นทางการในเมืองโอ๊กแลนด์ หลังจากสองปีก่อนเขาเคยเทรนคนผิวขาวคนแรกเล่นกังฟู และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยในปี 1964 มีสตูดิโอสอนกังฟูไม่จำกัดสีผิวเจ้าอื่นเปิดก่อนเป็นแห่งแรกในโลกที่ไชน่าทาวน์ ในลอสแอนเจลิส
บรูซ ลี เสียชีวิตด้วยโรคลมบ้าหมูชักกะทันหัน เนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพอที่ฮ่องกงปี 1973 ขณะอายุเพียง 32 ปี มีบุตร 2 คน คือ แบรนดอน ลี และ แชนนอน ลี
ถึงบรูซ ลีจะเสียชีวิตแล้วก็ตาม แต่ก็ถือกันว่าลีคิดค้นศิลปะการป้องกันตัวที่มีชื่อว่า "จีทคุนโด้" ซึ่งเป็นหนึ่งในศิลปะการป้องกันตัวที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก
สื่อ
ดูบทความหลักที่ สื่อที่เกี่ยวข้องกับบรูซ ลี
หนังสือ
Chinese Gung-Fu: The Philosophical Art of Self Defense (Bruce Lee's first book) – 1963
Tao of Jeet Kune Do (Published posthumously) – 1973
Bruce Lee's Fighting Method (Published posthumously) – 1978
ภาพยนตร์
ดูบทความหลักที่ รายชื่อภาพยนตร์ของบรูซ ลี
ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง (ค.ศ. 1971) (US title: Fists of Fury)
ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง ล้างแค้น (ค.ศ. 1972) (US title: The Chinese Connection)
ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง บุกกรุงโรม (ค.ศ. 1972) (US titles: Return of the Dragon, Revenge of the Dragon)
ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง มังกรประจัญบาน (ค.ศ. 1973) (US titles: Enter the Dragon)
ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง เกมมังกร (ค.ศ. 1978) (US titles: Game of Death)
โทรทัศน์
The Green Hornet (26 episodes, 1966–1967) .... Kato
Batman (Episodes: "The Spell of Tut" 28 September 1966, "A Piece of the Action" 1 March 1967, "Batman's Satisfaction" 2 March 1967) .... Kato
Ironside (Episode: "Tagged for Murder" 26 October 1967) .... Leon Soo
Blondie (Episode: "Pick on Someone Your Own Size", 1968)
Here Come the Brides (Episode: "Marriage Chinese Style" 9 April 1969) .... Lin
Longstreet (4 episodes, 1971) .... Li Tsung
The Pierre Berton Show (1971) .... Himself
ประวัติเฉินหลง พระเอกนักบู๊สุดฮาแห่งวงการภาพยนต์จีน
เฉินหลงเกิดวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2497 ที่วิกตอเรียพีค (อังกฤษ:Victoria Peak ; จีน : 太平山 หรือ 扯旗山) ในฮ่องกง มีชื่อจริงว่า เฉิน ก่างเซิง (陳港生) หรือหมายความว่า "เกิดที่ฮ่องกง" พ่อของเฉินหลงชื่อ เฉิน จื้อผิง (陳志平) แม่ชื่อ เฉิน ลี่ลี่ (陳莉莉) เดิมอยู่เมืองจีน แต่หนีออกมาอยู่ฮ่องกงสมัยสงครามกลางเมือง ตอนเด็กๆ พ่อแม่ตั้งชื่อเล่นให้อย่างน่ารักน่าเอ็นดูว่า "เพ่าเพ่า" หรือ "ลูกระเบิด" เพราะชอบนอนกลิ้งไปกลิ้งมาอยู่บนเบาะ เขาเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน เขาเกือบถูกพ่อแม่ผู้บังเกิดเกล้าขายให้กับหมออังกฤษในราคาแค่ 26 เหรียญ แต่แล้วพ่อแม่ของเขาก็ได้ล้มเลิกความคิดนั้น
พ่อของเขาทำงานเป็น "พ่อครัว" แม่ทำงานเป็น "แม่บ้าน" ให้กับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในฮ่องกง เฉินหลงก็เติบโตมาในสถานทูต เมื่ออายุถึงเกณฑ์ก็เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนหนานหัว
เมื่อเฉินหลงอายุได้ 7 ขวบ พ่อก็ส่งเขาเข้าโรงเรียนอุปรากรจีน โดยที่ตัวของพ่อกับแม่นั้นต้องไปทำงานเป็นพ่อครัวกับแม่บ้านที่สถานทูตในออสเตรเลีย และที่โรงเรียนนั้นเองที่ทำให้เฉินหลงได้เรียนรู้ชีวิตที่โดดเดี่ยว เพราะเขาต้องห่างครอบครัวเป็นเวลานาน แต่ที่นั่นก็ทำให้เฉินหลงได้พบเพื่อนร่วมสาบานอย่าง หงจินเป่า และ หยวนเปียว
เมื่อครั้งเฉินหลงอายุ 9 ขวบ ได้มีโอกาสมาใช้ชีวิตอยู่ในเยาวราชถึง 2 ปี อาศัยอยู่หลังโรงงิ้วเก่า ในวัยเด็กได้เรียนมวยไทยกับคุณลุงแก่ๆขาเป๋ คอยสอนมวยไทยให้ ดังนั้นเฉินหลงจึงมีความผูกพันกับคนไทยมาก [1]
เฉินหลงเรียนจบเมื่ออายุ 17 ปี เขาได้ไปสมัครเข้าร่วมทีมสตันท์ในวงการหนังฮ่องกงในช่วงที่ บรู๊ซ ลี ยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อ บรู๊ซ ลี เสียชีวิต เฉินหลงต้องตกงานเพราะวงการหนังกังฟูฮ่องกง กำลังอยู่ในช่วงตกต่ำ
จุดตกต่ำ[แก้]
ความสามารถเฉินหลงเกิดไปสะดุดตาผู้สร้างหนังอย่าง หลอเหว่ย ผู้กำกับหนัง Fist of Fury (ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง) ของบรู๊ซ ลี โดยเขาต้องการปั้นดารากังฟูขึ้นมาแทนบรู๊ซ ลี โดยเฉินหลงได้แสดงหนังในตอนนั้นทั้งหมด 10 เรื่อง ได้แก่ New Fist of Fury (มังกรหนุ่มคะนองเลือด) (1976) Shaolin Wooden Men (ถล่ม 20 มนุษย์ไม้) (1976) Eagle Shadow Fist (1977) Half a Loaf of Kung Fu (ไอ้หนุ่มหมัดคัน) (1977) Killer Meteors (ไอ้ดาวหางจอมเพชรฆาต) (1977) To Kill with Intrigue (นางพญาหลั่งเลือดสะท้านภพ) (1977) Snake and Crane Arts of Shaolin (ไอ้หนุ่มหมัดทะเล้น) (1978) Magnificent Bodyguards (ศึกมันทะลุฟ้า) (1978) Spiritual Kung Fu (ไอ้หนุ่มพันมือ ตอน 2) (1978) และ Dragon Fist (เฉินหลง สู้ตาย) (1978) โดยทั้งหมดนี้ไม่ประสบความสำเร็จเลยแม้แต่เรื่องเดียว
จุดประสบความสำเร็จ[แก้]
Drunken Master (1978)
ปี 1978 เมื่อเฉินหลงนำแสดงหนังให้กับ Seasonal Film เรื่อง Snake in the Eagle's Shadow (ไอ้หนุ่มพันมือ) (1978) ทำให้ชื่อของเฉินหลง กลายเป็นดาราดังเพียงช่วงข้ามคืน เพราะสามารถทำเงินอย่างมหาศาลในฮ่องกง จากนั้นเฉินหลงก็ได้นำแสดงใน Drunken Master (ไอ้หนุ่มหมัดเมา) (1978) โดยเฉพาะเรื่องนี้ไม่เพียงแต่จะประสบความสำเร็จในฮ่องกงเท่านั้น แต่ยังประสบความสำเร็จทั่วเอเชียอีกด้วย
และเมื่อเฉินหลงหมดสัญญากับหลอเหว่ย เขาก็มุ่งหน้าไปที่สังกัดโกลเด้นท์ ฮาร์เวส (Golden Harvest) ซึ่งในอดีตบรู๊ซ ลี เคยเป็นดาราประจำของค่ายนี้ โดยที่สิทธิการทำหนังในค่ายนี้ เฉินหลงเป็นคนสามารถเลือกเองได้ ผลงานเรื่องแรกในค่ายนี้คือเรื่อง The Young Master (ไอ้มังกรหมัดสิงโต) (1980) ซึ่งสามารถทำรายได้ 10 ล้านเหรียญฮ่องกงเป็นเรื่องแรก จากนั้น หลังจากนั้นเฉินหลงก็ได้กลับมาทำหนังในฮ่องกงกับร่วมกับ 2 สหายอย่าง หงจินเป่า และ หยวนเปียว โดยผลงานที่ทั้งสามได้แสดงด้วยกันมี 6 เรื่อง คือ Winners and Sinners (มือปราบจมูกหิน) (1983) Project A (เอไกหว่า) (1984) Wheels on Meals (ขาตั้งสู้) (1984) My Lucky Stars (7เพชรฆาตสัญชาติฮ้อ) (1985) Twinkle Twinkle Lucky Stars (ขอน่า อย่าซ่าส์) (1986) และ Dragons Forever (มังกรหนวดทอง) (1988) เป็นเรื่องสุดท้าย (แต่เรื่อง Heart of Dragon (2พี่น้องตระกูลบึ้ก) (1985) เฉินหลงกับหงจินเป่าแสดง แต่หยวนเปียวอยู่ในส่วนกำกับคิวบู๊ )
แต่เฉินหลงกลับมาประสบความสำเร็จอย่างสูงอีกครั้ง ในหนังตำรวจร่วมสมัยอย่าง Police Story (วิ่งสู้ฟัด) (1985) โดยเรื่องนี้ทำให้เฉินหลงได้รับรางวัลม้าทองคำ (ตุ๊กตาทองฮ่องกง) ถึง 2 รางวัล คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และ ออกแบบฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม จากนั้นเฉินหลงก็แสดงหนังในฮ่องกงหลายเรื่องตลอดมาเรื่อยๆ เช่น Armour of God (ใหญ่สั่งมาเกิด) (1987) Police Story 2 (วิ่งสู้ฟัด2) (1988) Miracles (ฉีจี้) (1989)
จนโชคเพิ่งมาเข้าข้างเฉินหลงในช่วงยุค'90 หนังหลายเรื่องของเฉินหลงเป็นที่ยอมรับในทั่วเอเชียเกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น Armour of God II: Operation Condor (ใหญ่สั่งมาเกิด 2 : อินทรีทะเลทราย) (1991) Police Story 3: Supercop (วิ่งสู้ฟัด3) (1992) City Hunter (ใหญ่ไม่ใหญ่ ข้าก็ใหญ่) (1993) Crime Story (วิ่งสู้ฟัด ภาคพิเศษ) (1993) และตำนานไอ้หนุ่มหมัดเมาอย่าง Drunken Master II (ไอ้หนุ่มหมัดเมา2) (1994) ซึ่งเรื่องนี้เฉินหลงได้ร่วมงานกับ หลิวเจียงเหลียง อีกทั้งยังทำรายได้ไปถึง 40 ล้านเหรียญฮ่องกง จากนั้นเฉินหลงก็มีหนังท็อปฟอร์มหลายเรื่องในเวลาต่อมา เช่น Thunderbolt (1995) (เร็วฟ้าผ่า) Police Story 4: First Strike (ใหญ่ฟัดโลก2) (1996) Mr. Nice Guy (ใหญ่ทับใหญ่) (1997) และ Who Am I? (ใหญ่เต็มฟัด) (1998)
ฮอลลีวูด[แก้]
Rush Hour (1998)
เฉินหลงก็มีโอกาสไปแสดงหนังฮอลลีวู้ดเป็นครั้งแรกในหนังพีเรียด - กังฟู เรื่อง The Big Brawl (ไอ้มังกรถล่มปฐพี) (1980) (ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Battle Creek Brawl) ผลลัพธ์ที่ได้คือ ไม่ประสบความสำเร็จเลย จากนั้นเขาก็แสดงเป็นตัวประกอบในหนังแนว Road Movie อย่าง Cannonball Run (เหาะแล้วซิ่ง) (1981) และ Cannonball Run 2 (1982) เรียกได้ว่าการไปเล่นหนังฮอลลีวู้ดของเขานั้น ล้มเหลวไม่เป็นท่า และเรื่องที่ 4 อย่าง The Protector (กูกู๋ปืนเค็ม) (1985) ซึ่งก็ล้มเหลวอีกครั้ง
และการไปเปิดตลาดอเมริกาครั้งที่สอง ของเฉินหลงก็เป็นผล เมื่อ Rumble in the Bronx (ใหญ่ฟัดโลก) (1995) สามารถเปิดตัวขึ้นอันดับหนึ่งในบ็อกซ์ออฟฟิสของอเมริกาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 สามารถทำรายได้ตลอดการฉายถึง 32.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และการแสดงหนังฮอลลีวู้ดของเฉินหลงในรอบหลายปีก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อเฉินหลงนำแสดงใน Rush Hour (คู่ใหญ่ ฟัดเต็มสปีด) (1998) ที่นำแสดงคู่กับ คริส ทักเกอร์ หนังประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยสามารถทำรายได้ในบ็อกซ์ออฟฟิสถึง 141.1 ล้านเหรียญ และ 244.3 จากทั่วโลก จากนั้นเฉินหลงก็มีโอกาสเล่นหนังทั้งในฮ่องกงและอเมริกาสลับกันหลายๆครั้ง เช่น Gorgeous (เบ่งหัวใจฟัดให้ใหญ่) (1999) Shanghai Noon (คู่ใหญ่ฟัดข้ามโลก) (2000) The Accidental Spy (วิ่งระเบิดฟัด) (2001) และเฉินหลงก็กลับมาเล่นหนังภาคต่ออย่าง Rush Hour 2 (คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด 2) (2001) The Tuxedo (สวมรอยพยัคฆ์พิทักษ์โลก) (2002) และ Shanghai Knights (คู่ใหญ่ฟัดทลายโลก) (2003) ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเหมือนเคย
แต่ผลงานอย่าง Around The World in 80 Days (80วัน จารกรรมฟัดข้ามโลก) (2004) ที่เฉินหลงร่วมแสดงกับ สตีฟ คูแกน และ ซีซิล เดอ ฟรานซ์ ประสบความล้มเหลวในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยทำเงินทั่วโลกไปเพียงแค่ 72.1 ล้านเหรียญ จากทุนสร้าง 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หลังจากนั้นอีก 3 ปี เฉินหลงก็กลับมาร่วมงานกับ แบร็ท แร็ตเนอร์ และ คริส ทักเกอร์ อีกครั้ง ใน Rush Hour 3 (คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด 3) (2007) โดยทิ้งห่างจากภาคที่แล้วถึง 6 ปี และก็ยังทำเงินในอเมริกาถึง 140.1 และ 255.0 จากทั่วโลก
ปี 2008 เฉินหลงนำแสดงร่วมกับ เจท ลี ในภาพยนตร์กำลังภายใน - แฟนตาซี เรื่อง The Forbidden Kingdom (หนึ่งฟัดหนึ่ง ใหญ่ต่อใหญ่) (2008) โดยเป็นการร่วมกันครั้งแรกของทั้งคู่ และในปีเดียวกันเฉินหลงยังให้เสียงตัวการ์ตูน "Master Monkey" ในเรื่อง Kung Fu Panda (2008) ของ ดรีมเวิร์กส์ แอนนิเมชั่น โดยมีผู้ร่วมให้เสียง เช่น แจ็ค แบล็ค, ดัสติน ฮอฟแมน, แองเจลิน่า โจลี่ และ ลูซี่ ลิว
เฉินหลงนำแสดงในหนังแอ็คชั่น - คอมเมดี้ เรื่อง The Spy Next Door (วิ่งขโยงฟัด) (2010) โดยรับบทเป็นพี่เลี้ยงเด็กที่ต้องมาต่อสู้กับเหล่าสายลับมากฝีมือ หลังจากที่เหล่าเด็กๆดูแลดันเกิดโหลดข้อมูลลับขององค์กรแห่งหนึ่ง โดยมีกำหนดฉายต้นปี 2010 และ Kung Fu Kid งานรีเมคจากอดีตหนังดังอย่าง The Karate Kid (1984) แสดงร่วมกับ จาเดน สมิธ ลูกชายของนักแสดงชื่อดัง วิล สมิธ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเปิดตัวขึ้นอันดับหนึ่งในบ๊อกซ์ออฟฟิศ และทำไปกว่า 170 ล้านเหรียญในสหรัฐ และกำลังออกฉายตามทั่วโลก
งาน[แก้]
JCE Movies Limited[แก้]
JCE Movies Limited
หลังจากร่วมงานกับทาง Golden Harvest มานานร่วม 20 กว่าปี ในปี 2003 เฉินหลงจึงตัดสินใจเดินออกจาก Golden Harvest และมาเปิดบริษัทของตัวเองในนาม JCE Movies Limited (Jackie Chan Emperor Movies Limited) โดยอยู่ในเครือของบริษัท Emperor Multimedia Group (EMG) บริษัทสื่อบันเทิงยักษ์ใหญ่ในฮ่องกง
ซึ่งตัวของเฉินหลงเองเป็นทั้งผู้สร้างและนำแสดงในหนังของตนเอง หนังของเขาเรื่องแรกในนามบริษัทนี้ คือ The Medallion (ฟัดอมตะ) (2003) และหลังจากนั้นก็มีผลงานทำเงินต่อเนื่องอย่าง New Police Story (วิ่งสู้ฟัด 5 เหิรสู้ฟัด) (2004) , The Myth (ดาบทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลา) (2005) และ Rob-B-Hood (วิ่งกระเตงฟัด) (2006)
ปี 2009 เฉินหลงนำแสดงภาพยนตร์แนวดราม่าเรื่อง The Shinjuku Incident (ใหญ่แค้นเดือด) (2009) ผลงานของ เอ๋อตงเซิน โดยเรื่องนี้เป็นผลงานดราม่าเต็มรูปแบบครั้งแรกของเฉินหลง
ช่วงหลังๆมานี้เฉินหลงมีผลงานการแสดงกับต่างชาติน้อยลง เขาเริ่มที่จะกลับมาทำหนังในฮ่องกงอีกครั้ง ซึ่งหนังเรื่องที่ 100 ของเขาคือ 1911 (ใหญ่ผ่าใหญ่)
ล่าสุดเฉินหลงกำลังถ่ายทำและกำกับ Chinese Zodiac หรือภาคต่อของหนังสุดมันส์อย่าง
Armour Of God : Chinese Zodiac มีชื่อไทยเรียกว่า "ใหญ่สั่งมาเกิด 3" (ล่าสุดสหมงคลฟิล์มเจ้าของหนังตั้งชื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ใหม่ว่า วิ่ง・ปล้น・ฟัด) [2]
ผลงานในยุค JCE
The Medallion (ฟัดอมตะ) (2003)
Rice Rhapsody (2004)
Enter the Phoenix (ใหญ่นะยะ) (2004) [รับเชิญ]
New Police Story (วิ่งสู้ฟัด 5 เหิรสู้ฟัด) (2004)
House of Fury (2005)
Everlasting Regret (2005)
The Myth (ดาบทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลา) (2005)
Rob-B-Hood (วิ่งกระเตงฟัด) (2006)
Run Papa Run (2008)
Wushu (2008)
"Shenmue Online (VG) (2008)
The Shinjuku Incident (ใหญ่แค้นเดือด) (2009)
"Armour Of God : Chinese Zodiac (ใหญ่สั่งมาเกิด 3 ตอน วิ่ง・ปล้น・ฟัด)
เกร็ดเกี่ยวกับเฉินหลง[แก้]
ใหญ่ฟัดโลก 2 (วิ่งสู้ฟัดภาค 4)
จางม่านอวี้ในบทอาเมย์ จาก วิ่งสู้ฟัด
หนังเฉินหลงเรื่องแรก ที่ชื่อไทยมีคำว่า 'ฟัด' คือ Police Story หรือ 'วิ่ง สู้ ฟัด'
หนังเฉินหลงเรื่องแรก ที่ชื่อไทยมีคำว่า 'ใหญ่' คือ Armour of God หรือ 'ใหญ่สั่งมาเกิด'
หนังเฉินหลงเรื่องแรกในเครือสหมงคลฟิล์ม คือ 'ฉีจี้' (Miracle)
ฉาก Outtake หรือฉากหลุดจากภาพยนตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของหนังเฉินหลง ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในเรื่อง Dragon Lord หรือ 'เฉินหลงจ้าวมังกร'
หนังเรื่อง 'ไอ้หนุ่มหมัดเมา' เคยเข้าฉายในเมืองไทยถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกปี 1978โดย กรุงเกษม และครั้งที่2 ปี 1994 โดย สหมงคลฟิล์ม นำกลับมาฉายใหม่เพื่อต้อนรับ การเข้าฉายของ 'ไอ้หนุ่มหมัดเมา ภาค2'
เสียงของนักพากย์ที่ให้เสียงของเฉินหลง ที่คนไทยให้การยอมรับ แบ่งออกเป็น 3ยุค ยุคแรก กรุงเกษม-นนทนันท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คือ คุณ รอง เค้ามูลคดี (เสียงเอก) (ไม่แน่ชัด - พ.ศ. 2531) ยุคกลาง สหมงคลฟิล์ม คือคุณ ชูชาติ อินทร (อินทรี) (พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2539) และยุคปัจจุบัน มงคลภาพยนตร์ คือ คุณ ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ (พันธมิตร) (พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน)
หนังเรื่อง วิ่ง・ปล้น・ฟัด คือ ใหญ่สั่งมาเกิด ภาค 3
'ใหญ่ทับใหญ่' (Mr.NiceGuy) (1997) คือหนังเฉินหลงเรื่องแรกที่ 'ให้เสียงภาษาไทยโดย พันธมิตร'
ทีมพากย์อินทรี ได้พากย์หนังเฉินหลงอีกครั้ง และเป็นเรื่องสุดท้าย คือ '80 วัน จารกรรมฟัดข้ามโลก' (Around The World in 80 Days) (2004) เนื่องจากหนังไม่ได้เป็นของค่ายในเครือสหมงคลฟิล์ม)
เฉินหลงเคยใช้ชีวิตช่วงนึงในวัยเด็กอยู่ที่เมืองไทย แถวๆเยาวราช และสามารถพูดภาษาไทย ได้นิดหน่อย
จริงๆแล้วหนังเรื่อง FirstStrike คือ ภาคที่ 4 ของ PoliceStory หรือ 'วิ่งสู้ฟัด' แต่ตอนฉายในไทย กลับตั้งชื่อเรื่องว่า 'ใหญ่ฟัดโลก2' (และยังใช้มาจนถึงทุกวันนี้ทั้ง วิดีโอ วีซีดี และ ดีวีดี) จึงทำให้ในเมืองไทยไม่เคยมีหนังเรื่อง 'วิ่งสู้ฟัด 4' มาตั้งแต่นั้น
เฉินหลงมักจะไม่ใช้นางเอกคนเดียวกันเกิน 1 เรื่อง ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ นักแสดงหลายคนมีชื่อเสียงและโด่งดังในเวลาต่อมา จนมีคำเรียกนักแสดงหญิงที่เคยได้ร่วมงานในหนังของเฉินหลงว่า 'Chan Girls'
เป็นการล้อเลียนเจมส์ บอนด์ นั่นเอง
นักแสดงหญิงที่ได้รับบทเป็นนางเอกและร่วมงาน ในภาพยนตร์ของเฉินหลงมากที่สุด คือ 'จางม่านอวี้' ซึ่งแสดงถึง 5 เรื่องด้วยกันได้แก่ 'วิ่งสู้ฟัด ภาค 1-3' 'เอไกหว่า ภาค 2' และ 'ใหญ่แฝดผ่าโลกเกิด'
เฉินหลง เคยออกรายการในเมืองไทย คือรายการ ทไวไลท์โชว์ โดยครั้งนั้นเฉินหลงมาให้สัมภาษณ์ถึงเมืองไทย และได้รับรูปถ่ายขนาดยักษ์ของตนเองไว้เป็นที่ระลึก
รายการตีสิบ ก็เคยได้สัมภาษณ์เฉินหลง ออกรายการเช่นกัน โดยเดินทางไปสัมภาษณ์กันถึง ฮ่องกง แต่ทว่า ทีมงานกลับทำเทปที่บันทึกการถ่ายทำไว้ สูญหายที่สนามบิน จึงไม่ได้ออกอากาศ ต่อมารายการตีสิบได้นำเทปฟุตเตจการสัมภาษณ์ที่ ยังหลงเหลือบางส่วนมาออกอากาศให้ชม
พ่อของเขาทำงานเป็น "พ่อครัว" แม่ทำงานเป็น "แม่บ้าน" ให้กับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในฮ่องกง เฉินหลงก็เติบโตมาในสถานทูต เมื่ออายุถึงเกณฑ์ก็เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนหนานหัว
เมื่อเฉินหลงอายุได้ 7 ขวบ พ่อก็ส่งเขาเข้าโรงเรียนอุปรากรจีน โดยที่ตัวของพ่อกับแม่นั้นต้องไปทำงานเป็นพ่อครัวกับแม่บ้านที่สถานทูตในออสเตรเลีย และที่โรงเรียนนั้นเองที่ทำให้เฉินหลงได้เรียนรู้ชีวิตที่โดดเดี่ยว เพราะเขาต้องห่างครอบครัวเป็นเวลานาน แต่ที่นั่นก็ทำให้เฉินหลงได้พบเพื่อนร่วมสาบานอย่าง หงจินเป่า และ หยวนเปียว
เมื่อครั้งเฉินหลงอายุ 9 ขวบ ได้มีโอกาสมาใช้ชีวิตอยู่ในเยาวราชถึง 2 ปี อาศัยอยู่หลังโรงงิ้วเก่า ในวัยเด็กได้เรียนมวยไทยกับคุณลุงแก่ๆขาเป๋ คอยสอนมวยไทยให้ ดังนั้นเฉินหลงจึงมีความผูกพันกับคนไทยมาก [1]
เฉินหลงเรียนจบเมื่ออายุ 17 ปี เขาได้ไปสมัครเข้าร่วมทีมสตันท์ในวงการหนังฮ่องกงในช่วงที่ บรู๊ซ ลี ยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อ บรู๊ซ ลี เสียชีวิต เฉินหลงต้องตกงานเพราะวงการหนังกังฟูฮ่องกง กำลังอยู่ในช่วงตกต่ำ
จุดตกต่ำ[แก้]
ความสามารถเฉินหลงเกิดไปสะดุดตาผู้สร้างหนังอย่าง หลอเหว่ย ผู้กำกับหนัง Fist of Fury (ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง) ของบรู๊ซ ลี โดยเขาต้องการปั้นดารากังฟูขึ้นมาแทนบรู๊ซ ลี โดยเฉินหลงได้แสดงหนังในตอนนั้นทั้งหมด 10 เรื่อง ได้แก่ New Fist of Fury (มังกรหนุ่มคะนองเลือด) (1976) Shaolin Wooden Men (ถล่ม 20 มนุษย์ไม้) (1976) Eagle Shadow Fist (1977) Half a Loaf of Kung Fu (ไอ้หนุ่มหมัดคัน) (1977) Killer Meteors (ไอ้ดาวหางจอมเพชรฆาต) (1977) To Kill with Intrigue (นางพญาหลั่งเลือดสะท้านภพ) (1977) Snake and Crane Arts of Shaolin (ไอ้หนุ่มหมัดทะเล้น) (1978) Magnificent Bodyguards (ศึกมันทะลุฟ้า) (1978) Spiritual Kung Fu (ไอ้หนุ่มพันมือ ตอน 2) (1978) และ Dragon Fist (เฉินหลง สู้ตาย) (1978) โดยทั้งหมดนี้ไม่ประสบความสำเร็จเลยแม้แต่เรื่องเดียว
จุดประสบความสำเร็จ[แก้]
Drunken Master (1978)
ปี 1978 เมื่อเฉินหลงนำแสดงหนังให้กับ Seasonal Film เรื่อง Snake in the Eagle's Shadow (ไอ้หนุ่มพันมือ) (1978) ทำให้ชื่อของเฉินหลง กลายเป็นดาราดังเพียงช่วงข้ามคืน เพราะสามารถทำเงินอย่างมหาศาลในฮ่องกง จากนั้นเฉินหลงก็ได้นำแสดงใน Drunken Master (ไอ้หนุ่มหมัดเมา) (1978) โดยเฉพาะเรื่องนี้ไม่เพียงแต่จะประสบความสำเร็จในฮ่องกงเท่านั้น แต่ยังประสบความสำเร็จทั่วเอเชียอีกด้วย
และเมื่อเฉินหลงหมดสัญญากับหลอเหว่ย เขาก็มุ่งหน้าไปที่สังกัดโกลเด้นท์ ฮาร์เวส (Golden Harvest) ซึ่งในอดีตบรู๊ซ ลี เคยเป็นดาราประจำของค่ายนี้ โดยที่สิทธิการทำหนังในค่ายนี้ เฉินหลงเป็นคนสามารถเลือกเองได้ ผลงานเรื่องแรกในค่ายนี้คือเรื่อง The Young Master (ไอ้มังกรหมัดสิงโต) (1980) ซึ่งสามารถทำรายได้ 10 ล้านเหรียญฮ่องกงเป็นเรื่องแรก จากนั้น หลังจากนั้นเฉินหลงก็ได้กลับมาทำหนังในฮ่องกงกับร่วมกับ 2 สหายอย่าง หงจินเป่า และ หยวนเปียว โดยผลงานที่ทั้งสามได้แสดงด้วยกันมี 6 เรื่อง คือ Winners and Sinners (มือปราบจมูกหิน) (1983) Project A (เอไกหว่า) (1984) Wheels on Meals (ขาตั้งสู้) (1984) My Lucky Stars (7เพชรฆาตสัญชาติฮ้อ) (1985) Twinkle Twinkle Lucky Stars (ขอน่า อย่าซ่าส์) (1986) และ Dragons Forever (มังกรหนวดทอง) (1988) เป็นเรื่องสุดท้าย (แต่เรื่อง Heart of Dragon (2พี่น้องตระกูลบึ้ก) (1985) เฉินหลงกับหงจินเป่าแสดง แต่หยวนเปียวอยู่ในส่วนกำกับคิวบู๊ )
แต่เฉินหลงกลับมาประสบความสำเร็จอย่างสูงอีกครั้ง ในหนังตำรวจร่วมสมัยอย่าง Police Story (วิ่งสู้ฟัด) (1985) โดยเรื่องนี้ทำให้เฉินหลงได้รับรางวัลม้าทองคำ (ตุ๊กตาทองฮ่องกง) ถึง 2 รางวัล คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และ ออกแบบฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม จากนั้นเฉินหลงก็แสดงหนังในฮ่องกงหลายเรื่องตลอดมาเรื่อยๆ เช่น Armour of God (ใหญ่สั่งมาเกิด) (1987) Police Story 2 (วิ่งสู้ฟัด2) (1988) Miracles (ฉีจี้) (1989)
จนโชคเพิ่งมาเข้าข้างเฉินหลงในช่วงยุค'90 หนังหลายเรื่องของเฉินหลงเป็นที่ยอมรับในทั่วเอเชียเกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น Armour of God II: Operation Condor (ใหญ่สั่งมาเกิด 2 : อินทรีทะเลทราย) (1991) Police Story 3: Supercop (วิ่งสู้ฟัด3) (1992) City Hunter (ใหญ่ไม่ใหญ่ ข้าก็ใหญ่) (1993) Crime Story (วิ่งสู้ฟัด ภาคพิเศษ) (1993) และตำนานไอ้หนุ่มหมัดเมาอย่าง Drunken Master II (ไอ้หนุ่มหมัดเมา2) (1994) ซึ่งเรื่องนี้เฉินหลงได้ร่วมงานกับ หลิวเจียงเหลียง อีกทั้งยังทำรายได้ไปถึง 40 ล้านเหรียญฮ่องกง จากนั้นเฉินหลงก็มีหนังท็อปฟอร์มหลายเรื่องในเวลาต่อมา เช่น Thunderbolt (1995) (เร็วฟ้าผ่า) Police Story 4: First Strike (ใหญ่ฟัดโลก2) (1996) Mr. Nice Guy (ใหญ่ทับใหญ่) (1997) และ Who Am I? (ใหญ่เต็มฟัด) (1998)
ฮอลลีวูด[แก้]
Rush Hour (1998)
เฉินหลงก็มีโอกาสไปแสดงหนังฮอลลีวู้ดเป็นครั้งแรกในหนังพีเรียด - กังฟู เรื่อง The Big Brawl (ไอ้มังกรถล่มปฐพี) (1980) (ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Battle Creek Brawl) ผลลัพธ์ที่ได้คือ ไม่ประสบความสำเร็จเลย จากนั้นเขาก็แสดงเป็นตัวประกอบในหนังแนว Road Movie อย่าง Cannonball Run (เหาะแล้วซิ่ง) (1981) และ Cannonball Run 2 (1982) เรียกได้ว่าการไปเล่นหนังฮอลลีวู้ดของเขานั้น ล้มเหลวไม่เป็นท่า และเรื่องที่ 4 อย่าง The Protector (กูกู๋ปืนเค็ม) (1985) ซึ่งก็ล้มเหลวอีกครั้ง
และการไปเปิดตลาดอเมริกาครั้งที่สอง ของเฉินหลงก็เป็นผล เมื่อ Rumble in the Bronx (ใหญ่ฟัดโลก) (1995) สามารถเปิดตัวขึ้นอันดับหนึ่งในบ็อกซ์ออฟฟิสของอเมริกาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 สามารถทำรายได้ตลอดการฉายถึง 32.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และการแสดงหนังฮอลลีวู้ดของเฉินหลงในรอบหลายปีก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อเฉินหลงนำแสดงใน Rush Hour (คู่ใหญ่ ฟัดเต็มสปีด) (1998) ที่นำแสดงคู่กับ คริส ทักเกอร์ หนังประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยสามารถทำรายได้ในบ็อกซ์ออฟฟิสถึง 141.1 ล้านเหรียญ และ 244.3 จากทั่วโลก จากนั้นเฉินหลงก็มีโอกาสเล่นหนังทั้งในฮ่องกงและอเมริกาสลับกันหลายๆครั้ง เช่น Gorgeous (เบ่งหัวใจฟัดให้ใหญ่) (1999) Shanghai Noon (คู่ใหญ่ฟัดข้ามโลก) (2000) The Accidental Spy (วิ่งระเบิดฟัด) (2001) และเฉินหลงก็กลับมาเล่นหนังภาคต่ออย่าง Rush Hour 2 (คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด 2) (2001) The Tuxedo (สวมรอยพยัคฆ์พิทักษ์โลก) (2002) และ Shanghai Knights (คู่ใหญ่ฟัดทลายโลก) (2003) ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเหมือนเคย
แต่ผลงานอย่าง Around The World in 80 Days (80วัน จารกรรมฟัดข้ามโลก) (2004) ที่เฉินหลงร่วมแสดงกับ สตีฟ คูแกน และ ซีซิล เดอ ฟรานซ์ ประสบความล้มเหลวในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยทำเงินทั่วโลกไปเพียงแค่ 72.1 ล้านเหรียญ จากทุนสร้าง 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หลังจากนั้นอีก 3 ปี เฉินหลงก็กลับมาร่วมงานกับ แบร็ท แร็ตเนอร์ และ คริส ทักเกอร์ อีกครั้ง ใน Rush Hour 3 (คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด 3) (2007) โดยทิ้งห่างจากภาคที่แล้วถึง 6 ปี และก็ยังทำเงินในอเมริกาถึง 140.1 และ 255.0 จากทั่วโลก
ปี 2008 เฉินหลงนำแสดงร่วมกับ เจท ลี ในภาพยนตร์กำลังภายใน - แฟนตาซี เรื่อง The Forbidden Kingdom (หนึ่งฟัดหนึ่ง ใหญ่ต่อใหญ่) (2008) โดยเป็นการร่วมกันครั้งแรกของทั้งคู่ และในปีเดียวกันเฉินหลงยังให้เสียงตัวการ์ตูน "Master Monkey" ในเรื่อง Kung Fu Panda (2008) ของ ดรีมเวิร์กส์ แอนนิเมชั่น โดยมีผู้ร่วมให้เสียง เช่น แจ็ค แบล็ค, ดัสติน ฮอฟแมน, แองเจลิน่า โจลี่ และ ลูซี่ ลิว
เฉินหลงนำแสดงในหนังแอ็คชั่น - คอมเมดี้ เรื่อง The Spy Next Door (วิ่งขโยงฟัด) (2010) โดยรับบทเป็นพี่เลี้ยงเด็กที่ต้องมาต่อสู้กับเหล่าสายลับมากฝีมือ หลังจากที่เหล่าเด็กๆดูแลดันเกิดโหลดข้อมูลลับขององค์กรแห่งหนึ่ง โดยมีกำหนดฉายต้นปี 2010 และ Kung Fu Kid งานรีเมคจากอดีตหนังดังอย่าง The Karate Kid (1984) แสดงร่วมกับ จาเดน สมิธ ลูกชายของนักแสดงชื่อดัง วิล สมิธ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเปิดตัวขึ้นอันดับหนึ่งในบ๊อกซ์ออฟฟิศ และทำไปกว่า 170 ล้านเหรียญในสหรัฐ และกำลังออกฉายตามทั่วโลก
งาน[แก้]
JCE Movies Limited[แก้]
JCE Movies Limited
หลังจากร่วมงานกับทาง Golden Harvest มานานร่วม 20 กว่าปี ในปี 2003 เฉินหลงจึงตัดสินใจเดินออกจาก Golden Harvest และมาเปิดบริษัทของตัวเองในนาม JCE Movies Limited (Jackie Chan Emperor Movies Limited) โดยอยู่ในเครือของบริษัท Emperor Multimedia Group (EMG) บริษัทสื่อบันเทิงยักษ์ใหญ่ในฮ่องกง
ซึ่งตัวของเฉินหลงเองเป็นทั้งผู้สร้างและนำแสดงในหนังของตนเอง หนังของเขาเรื่องแรกในนามบริษัทนี้ คือ The Medallion (ฟัดอมตะ) (2003) และหลังจากนั้นก็มีผลงานทำเงินต่อเนื่องอย่าง New Police Story (วิ่งสู้ฟัด 5 เหิรสู้ฟัด) (2004) , The Myth (ดาบทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลา) (2005) และ Rob-B-Hood (วิ่งกระเตงฟัด) (2006)
ปี 2009 เฉินหลงนำแสดงภาพยนตร์แนวดราม่าเรื่อง The Shinjuku Incident (ใหญ่แค้นเดือด) (2009) ผลงานของ เอ๋อตงเซิน โดยเรื่องนี้เป็นผลงานดราม่าเต็มรูปแบบครั้งแรกของเฉินหลง
ช่วงหลังๆมานี้เฉินหลงมีผลงานการแสดงกับต่างชาติน้อยลง เขาเริ่มที่จะกลับมาทำหนังในฮ่องกงอีกครั้ง ซึ่งหนังเรื่องที่ 100 ของเขาคือ 1911 (ใหญ่ผ่าใหญ่)
ล่าสุดเฉินหลงกำลังถ่ายทำและกำกับ Chinese Zodiac หรือภาคต่อของหนังสุดมันส์อย่าง
Armour Of God : Chinese Zodiac มีชื่อไทยเรียกว่า "ใหญ่สั่งมาเกิด 3" (ล่าสุดสหมงคลฟิล์มเจ้าของหนังตั้งชื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ใหม่ว่า วิ่ง・ปล้น・ฟัด) [2]
ผลงานในยุค JCE
The Medallion (ฟัดอมตะ) (2003)
Rice Rhapsody (2004)
Enter the Phoenix (ใหญ่นะยะ) (2004) [รับเชิญ]
New Police Story (วิ่งสู้ฟัด 5 เหิรสู้ฟัด) (2004)
House of Fury (2005)
Everlasting Regret (2005)
The Myth (ดาบทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลา) (2005)
Rob-B-Hood (วิ่งกระเตงฟัด) (2006)
Run Papa Run (2008)
Wushu (2008)
"Shenmue Online (VG) (2008)
The Shinjuku Incident (ใหญ่แค้นเดือด) (2009)
"Armour Of God : Chinese Zodiac (ใหญ่สั่งมาเกิด 3 ตอน วิ่ง・ปล้น・ฟัด)
เกร็ดเกี่ยวกับเฉินหลง[แก้]
ใหญ่ฟัดโลก 2 (วิ่งสู้ฟัดภาค 4)
จางม่านอวี้ในบทอาเมย์ จาก วิ่งสู้ฟัด
หนังเฉินหลงเรื่องแรก ที่ชื่อไทยมีคำว่า 'ฟัด' คือ Police Story หรือ 'วิ่ง สู้ ฟัด'
หนังเฉินหลงเรื่องแรก ที่ชื่อไทยมีคำว่า 'ใหญ่' คือ Armour of God หรือ 'ใหญ่สั่งมาเกิด'
หนังเฉินหลงเรื่องแรกในเครือสหมงคลฟิล์ม คือ 'ฉีจี้' (Miracle)
ฉาก Outtake หรือฉากหลุดจากภาพยนตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของหนังเฉินหลง ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในเรื่อง Dragon Lord หรือ 'เฉินหลงจ้าวมังกร'
หนังเรื่อง 'ไอ้หนุ่มหมัดเมา' เคยเข้าฉายในเมืองไทยถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกปี 1978โดย กรุงเกษม และครั้งที่2 ปี 1994 โดย สหมงคลฟิล์ม นำกลับมาฉายใหม่เพื่อต้อนรับ การเข้าฉายของ 'ไอ้หนุ่มหมัดเมา ภาค2'
เสียงของนักพากย์ที่ให้เสียงของเฉินหลง ที่คนไทยให้การยอมรับ แบ่งออกเป็น 3ยุค ยุคแรก กรุงเกษม-นนทนันท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คือ คุณ รอง เค้ามูลคดี (เสียงเอก) (ไม่แน่ชัด - พ.ศ. 2531) ยุคกลาง สหมงคลฟิล์ม คือคุณ ชูชาติ อินทร (อินทรี) (พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2539) และยุคปัจจุบัน มงคลภาพยนตร์ คือ คุณ ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ (พันธมิตร) (พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน)
หนังเรื่อง วิ่ง・ปล้น・ฟัด คือ ใหญ่สั่งมาเกิด ภาค 3
'ใหญ่ทับใหญ่' (Mr.NiceGuy) (1997) คือหนังเฉินหลงเรื่องแรกที่ 'ให้เสียงภาษาไทยโดย พันธมิตร'
ทีมพากย์อินทรี ได้พากย์หนังเฉินหลงอีกครั้ง และเป็นเรื่องสุดท้าย คือ '80 วัน จารกรรมฟัดข้ามโลก' (Around The World in 80 Days) (2004) เนื่องจากหนังไม่ได้เป็นของค่ายในเครือสหมงคลฟิล์ม)
เฉินหลงเคยใช้ชีวิตช่วงนึงในวัยเด็กอยู่ที่เมืองไทย แถวๆเยาวราช และสามารถพูดภาษาไทย ได้นิดหน่อย
จริงๆแล้วหนังเรื่อง FirstStrike คือ ภาคที่ 4 ของ PoliceStory หรือ 'วิ่งสู้ฟัด' แต่ตอนฉายในไทย กลับตั้งชื่อเรื่องว่า 'ใหญ่ฟัดโลก2' (และยังใช้มาจนถึงทุกวันนี้ทั้ง วิดีโอ วีซีดี และ ดีวีดี) จึงทำให้ในเมืองไทยไม่เคยมีหนังเรื่อง 'วิ่งสู้ฟัด 4' มาตั้งแต่นั้น
เฉินหลงมักจะไม่ใช้นางเอกคนเดียวกันเกิน 1 เรื่อง ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ นักแสดงหลายคนมีชื่อเสียงและโด่งดังในเวลาต่อมา จนมีคำเรียกนักแสดงหญิงที่เคยได้ร่วมงานในหนังของเฉินหลงว่า 'Chan Girls'
เป็นการล้อเลียนเจมส์ บอนด์ นั่นเอง
นักแสดงหญิงที่ได้รับบทเป็นนางเอกและร่วมงาน ในภาพยนตร์ของเฉินหลงมากที่สุด คือ 'จางม่านอวี้' ซึ่งแสดงถึง 5 เรื่องด้วยกันได้แก่ 'วิ่งสู้ฟัด ภาค 1-3' 'เอไกหว่า ภาค 2' และ 'ใหญ่แฝดผ่าโลกเกิด'
เฉินหลง เคยออกรายการในเมืองไทย คือรายการ ทไวไลท์โชว์ โดยครั้งนั้นเฉินหลงมาให้สัมภาษณ์ถึงเมืองไทย และได้รับรูปถ่ายขนาดยักษ์ของตนเองไว้เป็นที่ระลึก
รายการตีสิบ ก็เคยได้สัมภาษณ์เฉินหลง ออกรายการเช่นกัน โดยเดินทางไปสัมภาษณ์กันถึง ฮ่องกง แต่ทว่า ทีมงานกลับทำเทปที่บันทึกการถ่ายทำไว้ สูญหายที่สนามบิน จึงไม่ได้ออกอากาศ ต่อมารายการตีสิบได้นำเทปฟุตเตจการสัมภาษณ์ที่ ยังหลงเหลือบางส่วนมาออกอากาศให้ชม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)